วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อาหารปลาทอง

อาหารปลาทอง


         อาหารธรรมชาติ ถึงแม้ปลาทองจะเป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร (Omnivorous)
แต่ในธรรมชาติชอบกินอาหารพวกลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรสีน้ำตาล (Artemia) หนอนแดง และ
ไส้เดือนน้ำ      อาหารมีชีวิตเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารสูงทำให้ปลาโตเร็วมีความสมบูรณ์ทางเพศดี
เหมาะสมต่อการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง โดยให้วันละ 2-3 ครั้ง   อาหารธรรมชาติจะให้ในสภาพ
ที่มีชีวิตหรือตายแล้วก็ได้ หากเป็นอาหารที่ตายแล้วต้องให้ปริมาณที่พอเหมาะ ถ้ามีอาหารเหลือต้อง
รีบดูดทิ้งทันที เนื่องจากอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียและเกิดโรคได้
   
       ปัจจุบันเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมและราชบุรีได้เพาะเลี้ยงปลาทองโดยใช้หนอนแมลงวันหรือ
หนอนขี้หมูขาว ซึ่งเกิดในบริเวณเล้าหมู เรียกว่า หนอนขี้หม   ู นำมาเลี้ยงปลาใช้เป็นอาหารปลาทอง
ขนาดอายุ 1-2 เดือนขึ้นไป แต่ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาควรระวังอย่าให้กินหนอนขี้หมูมาก เพราะ
จะทำให้ปลาอ้วนเกินไปซึ่งมีผลทำให้ปริมาณไข่ที่ออกน้อย
     ข้อควรระวัง ก่อนนำหนอนขี้หมูมาเป็นอาหารจะต้องนำมาล้างน้ำให้สะอาดและแช่ด่างทับทิมใน
อัตราส่วน 2-3 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร หรือต้มเพื่อป้องกันเชื้อโรค

 ผลดีของอาหารมีชีวิต


+ สัตว์น้ำจะมีเอนไซม์ช่วยย่อย ซึ่งสัตว์น้ำสามารถย่อยและกินได้ตลอดเวลา
+ อาหารมีชีวิตมีองค์ประกอบของกรดอะมิโนอิสระที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเจริญเติบโต
+ มีสารสีต่าง ๆ (Pigment) ตามธรรมชาติ ช่วยในการป้องกันและสร้างภูมิต้านทานโรคซึ่งปลา
ไม่สามารถสังเคราะห์เองตามธรรมชาติ
+ มีราคาต่ำเมื่อเทียบกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป
 อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ อาหารเม็ดขนาดเล็กเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาทอง   และ
ควรเลือกอาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงจะทำให้ปลาเจริญเติบโตดีและมีสีสันสวยงามโดยทั่วไป
ส่วนประกอบของอาหารสำเร็จรูปควรประกอบด้วย โปรตีน 40% คาร์โบไฮเดรต 44%   ไขมัน
10% วิตามินและแร่ธาตุ 6%
      ส่วนประกอบของอาหารที่มีปริมาณโปรตีนต่ำจะทำให้ปลาโตช้าหรือชะงักการเจริญเติบโต
และมีความสมบูรณ์ทางเพศน้อยหรือถ้าอาหารมีปริมาณโปรตีนมากเกินไป ปลาก็จะขับถ่ายของเสีย
ออกมามากทำให้น้ำมีปริมาณแอมโมเนียสูงซึ่งเป็นพิษต่อปลา
   : ลูกปลาขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 1 นิ้ว) มีความต้องการโปรตีน ประมาณ 60 - 80% เพื่อการเจริญเติบโต
   : ปลาวัยรุ่นจะมีความต้องการโปรตีนประมาณ 40 - 60% เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ทางเพศทำให้
     ไข่พัฒนา
   : ปลาเต็มวัยจะมีความต้องการโปรตีนประมาณ 30 - 40%

     การให้อาหาร ควรให้วันละ 3 -5 % ของน้ำหนักปลา เช่น ปลาทั้งหมด น้ำหนัก 500 กรัม จะให้
อาหารเม็ดวันละ 15 - 25 กรัม โดยแบ่งให้เช้าเย็นหรือจะใช้อาหารผสมแทน โดยใช้อาหารที่มีส่วน
ผสมของปลาป่น รำละเอียด กากถั่วป่น วิตามินและแร่ธาตุซึ่งกำหนดให้มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า40%
อาหารสำเร็จรูปมีข้อดีกว่าอาหารธรรมชาติหลายประการได้แก่ สามารถควบคุมคุณภาพให้เป็นไป
ตามมาตรฐาน ความสม่ำเสมอและความคงทนในขณะที่ละลายน้ำ แต่อาหารสำเร็จรูปจะทำให้น้ำ
เสียง่าย ขนาดของอาหารสำเร็จรูปสามารถปรับให้เข้ากับการเจริญเติบโตของลูกปลา    เมื่อปลามี
ขนาดใหญ่สามารถ ปรับขนาดได้ ขนาด วัสดุอาหารและกลิ่นของอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการทำ
อาหาร

 วิธีการให้อาหารสำเร็จรูปมีข้อควรพิจารณาในการให้อาหาร ดังนี้
+ ปริมาณอาหารที่ให้ ไม่มากเกินไป ปลาควรกินหมดภายใน 15 นาที
+ ความถี่ หลักการให้อาหารควรจะให้ปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งทั้งนี้ควรให้วันละ 2 -3 ครั้งถ้า
เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปควรมีการเสริมอาหารมีชีวิต
+ การยอมรับอาหาร บางครั้งพบว่า ปลาไม่ยอมรับอาหารที่ไม่เคยกินมาก่อน จึงจำเป็นต้องฝึกให้กิน
โดยอาจต้องให้ปลาอดอาหาร 1 - 2 วัน และลองให้กินอาหารใหม่อีกครั้ง แล้วสังเกตว่าปลายอมกิน
อาหารหรือไม่
+ การเลือกชนิดและปริมาณของอาหาร ควรต้องคำนึงถึงระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง
+ อาหารเร่งสี สีของตัวปลาเกิดจากการทำงานของเซลล์ผิวหนังซึ่งมีเม็ดสีอยู่ภายใน เม็ดสีที่อยู่ใน
ชั้นของผิวหนังสีแดงหรือสีเหลืองของปลาทองเป็นสีของคาร์โรทินอยล์ชนิดแอสทาแซนธิน
(Astaxanthin) คือถ้าในเซลล์ผิวหนังมีคาร์โรทินอยล์มากเท่าไร ย่อมทำให้ปลามีสีสดขึ้น
   
         ดังนั้นในปัจจุบันจะมีการใช้สารเร่งสี (แอสทาแซนธิน) ให้ปลากินเพื่อให้ปลามีลำตัวสีแดง และ
มีการใช้สไปรูไรน่า (Spirulina) ผสมกับอาหารเลี้ยงปลาเพื่อเพิ่มความเข้มของสีแดง ส้ม หรือสี
เหลือง ในตัวปลา ปกติอาหารสำเร็จรูปส่วนมากจะมีสไปรูไรน่าผสมอยู่ในอัตราส่วนไม่เกิน 10%
อาหารที่ผสมสารเร่งสีจะใช้เลี้ยงปลาที่มีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ โดยให้กินในมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็น
จะให้กินอาหารมีชีวิต      ในกรณีที่เลี้ยงปลาทองในบริเวณที่มีแสงแดดเพียงพอไม่จำเป็นต้องให้
อาหารเร่งสี

ที่มา : http://www.nicaonline.com/goldfish006.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น