วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการเลี้ยงปลาทองในตู้สำหรับมือใหม่

นักเลี้ยงปลาทองส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงในตู้มากกว่า ภาชนะอย่างอื่น เพราะนอกเหนือจากความงดงามอ่อนช้อยของปลาทองแล้ว ยังสามารถตกแต่งตู้ปลาให้สวยงามเป็นเครื่องประดับบ้านโชว์แขกที่มาเยี่ยมเยือนได้เป็นอย่างดี
   การเลี้ยงปลาทองในตู้จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าดังต่อไปนี้
เลือกสถานที่ 
   ก่อนซื้อตู้ปลา ควรกำหนดจุดหรือบริเวณภายในบ้านหรืออาคารสำหรับเป็นที่ตั้งตู้ปลาเสียก่อน วัดขนาดความกว้างความสูงของสถานที่ ให้แน่นอนแล้วจึงไปหาซื้อตู้ที่มีขนาดพอเหมาะกับสถานที่ตั้ง
   จุดที่เหมาะสำหรับตั้งตู้เลี้ยงปลาทองควรเป็นที่อากาศถ่ายเทสะดวกถ้าได้ที่มีแสงแดดตอนเข้าส่องถึงจะดีมาก เพราะแสงแดดยามเช้าจะทำให้สีของปลาเข้มขึ้น ตรงกันข้ามกับแสงแดดยามบ่ายจะทำให้สีของปลาจางลงนอกจากนั้นแล้วจุดตั้งตู้เลี้ยงปลาควรอยู่ตรงที่สามารถขับถ่ายน้ำได้สะดวก
ตู้เลี้ยงปลา
   ตู้เลี้ยงปลาทองควรพิจารณาเลือกตู้ที่มีรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่เลือกไว้ อย่างไรก็ตามขนาดของตู้ไม่ควรเล็กเกินไปถ้าต้องการจะตกแต่งตู้ด้วยพรรณไม้น้ำและวัสดุอย่างอื่นเช่นก้อนหิน หรือขอนไม้
   ตู้เลี้ยงปลาปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 ชนิด คือ ตู้ที่ทำด้วยแผ่นกระจก และตู้ที่หล่อขึ้นจากอะคริลิกใส ตู้กระจกมีข้อดีตรงที่ไม่เป็นรอยขีดข่วนง่ายเวลาทำความสะอาด แต่เสียตรงที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายลำบาก และมีรอยต่อตรงมุมตู้ส่วนตู้อะคริลิกมี่ข้อดีตรงที่มีความใสมากกว่าแผ่นกระจก ไม่มีรอยต่อตรงมุมตู้น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น แต่มีข้อเสียที่ราคาแพง เกิดรอยขีดข่วนง่ายและถ้าเป็นอะคริลิกคุณภาพต่ำเมื่อใช้ไปนาน ๆ  จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชาด้วยเหตุนี้ตู้กระจกจึงยังได้รับความนิยมมากกว่า
การจัดเตรียมตู้ปลา
   ตู้ปลาที่ซื้อมาใหม่จะต้องล้างทำความสะอาดแล้วใสน้ำแช่ทิ้งไว้ 2-3 วัน ระหว่างที่ใสน้ำแช่ไว้ควรตรวจสอบดูว่ามีการรั่วซึมที่ใดบ้างหรือเปล่าถ้ามีก็จัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อยเสียก่อน หลังจากนั้นถ่ายน้ำที่แช่ไว้ออกให้หมด เช็ดให้แห้งแล้วนำไปวางเข้าที่ที่เตรียมไว้ การเคลื่อนย้ายตู้ปลาควรใช้มือช้อนเข้าไปในตู้แล้วยก อย่าจับขอบด้านบนแล้วยกเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้แผ่นกระจกด้านข้างโย้ไปมาจนกาวยึดรอยต่อเกิดการรั่วซึมหรือฉีกขาดได้
เตรียมแผ่นกรอง
   แผ่นกรองก่อนนำมาใช้จะต้องทำความสะอาดเสียก่อนเนื่องจากแผ่นกรองทำด้วยพลาสติกที่ใช้สารเคมีในขบวนการผลิต ถ้าไม่ล้างออกให้หมดอาจเป็นอันตรายต่อปลา จากนั้นนำแผ่นกรองประกอบเข้ากับท่อระบายอากาศ ต่อสายยางจากปั้มลมเข้ากับท่อลมข้างท่อระบายอากาศ แล้วเอาแผ่นกรองวางแนบกับพื้นตู้
เตรียมพื้นตู้
   วัสดุที่ใช้ปูพื้นตู้โดยมากนิยมใช้ทรายหยาบหรือกรวดขนาดเล็ก ไม่ควรใช้ทรายละเอียด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการกรองลดลงตกตะกอนและเศษของเสียยังตกค้างอยู่บนพื้นผิวทราย เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น สำหรับปลาทองซึ่งเป็นปลาที่ชอบคุ้ยหาอาหารที่พื้นจึงควรใช้กรวดขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และควรเลือกกรวดที่ไม่มีเหลี่ยมแหลมคมและปราศจากเศษเปลือกหอย ป้องกันปลาทองบาดเจ็บเมื่อว่ายไปชน
   ก่อนนำกรวดมาใช้ปูพื้นตู้ปลาจะต้องล้างให้สะอาดจนหมดเศษดินแล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 2-3 วันเพื่อกำจัดความเค็มที่อาจติดมากับกรวดถ้าจะให้ดีก็ควรเอากรวดมาลวกน้ำร้อนในถังแช่ทิ้งไว้ประมาณ  10-15 นาที เพื่อให้น้ำร้อนแทรกซึมเม็ดกรวดได้ทั่วถึง แล้วจึงนำมาล้างน้ำเย็นให้สะอาดก่อนนำไปใช้
   นำกรวดที่ล้างสะอาดแล้วไปเทใส่ตู้กลบทับแผ่นกรองให้มิดและหนาอย่างน้อย 3 นิ้ว ที่นิยมกันมากจะปูพื้นให้ระดับกรวดด้านหลังตู้สูงกว่าด้านหน้า พื้นกรวดที่มีลักษณะเอียงลาดแบบนี้เมื่อนานไป กรวดที่อยู่ระดับสูงจะเลื่อนไหลลงมาอยู่ที่ระดับเดียวกันเป็นพื้นราบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาควรหาอะไรมากั้นดักเอาไว้เป็นช่วง ๆ
ขั้นตอนการเตรียมตู้ปลา
1. ใส่กรวดทับลงไปบนแผ่นกรอง
2. เกลี่ยกรวดให้เต็มพื้นตู้
3. ปรับระดับชั้นกรวดสูงต่ำตามต้องการ
4. ตกแต่งด้วยก้อนหิน ขอนไม้ ตามชอบ
5. ใส่น้ำโดยใช้พลาสติกหรือชามรองกันทรายกระจายขึ้นมา
6. ถ้าต้องการตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้น้ำใส่น้ำลงไปประมาณ 1 ใน 3 ก่อน
7. เริ่มปลูกต้นไม้น้ำที่เป็นฉากหลังก่อน
8. ปลูกต้นไม้น้ำระดับกลางตู้
9. ปลูกต้นไม้น้ำขนาดเล็กไว้ด้านหน้าตู้
10. หลังจากปลูกต้นไม้น้ำหมดแล้วให้ถ่ายน้ำทิ้ง
11. ใส่น้ำสะอาดไปให้เต็มตู้แล้วช้อนเศษใบและกิ่งก้านไม้น้ำที่ลอยอยู่ในน้ำออกให้หมด
12. ตู้ที่จัดเสร็จแล้วแต่น้ำยังขุ่นอยู่ ต้องรอให้น้ำใสเสียก่อนจึงค่อยปล่อยปลาลงไปเลี้ยง
การตกแต่ง
   อุปกรณ์สำหรับตกแต่งตู้เลี้ยงปลาทองต้องเลือกวัสดุที่ไม่มีเหลี่ยมคมไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน หรือขอนไม้และที่ไม่ควรใช้อย่างยิ่งคือ ปะการัง ซึ่งมีแง่แหลมคมมากมายเป็นอันตรายต่อปลาทอง อุปกรณ์ตกแต่งทุกชิ้นจะต้องผ่านการล้างทำความสะอาดเสียก่อนจึงค่อยนำไปใช้
การใส่น้ำลงไปในตู้
   ก่อนใส่น้ำลงไปในตู้ปลาควรเอาพลาสติกอ่อนคลุ่มพื้นตู้หรือเอาชามไปวางไว้ก้นตู้กันกรวดกระจายเพราะแรงน้ำ เมื่อใส่น้ำลงไปในตู้ครั้งแรกจะขุ่นขึ้นมาทันทีควรถ่ายทิ้งแล้วเติมน้ำใหม่ลงไปถ้าต้องการจะตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำก็ทำเสียตอนนี้ แต่ควรทราบไว้อย่างหนึ่งว่า ปลาทองส่วนใหญ่ชอบกัดทำลายพืชน้ำ หากต้องการให้ภูมิทัศน์ในตู้ปลามีสีสันของพรรณไม้น้ำขอแนะนำว่าควรใช้ต้นไม้น้ำประดิษฐ์มาตกแต่งแทน
   หลังจากตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำแล้วหากน้ำขุ่นมากก็ถ่ายออกแล้วเติมน้ำใหม่ลงไป พร้อมกันนี้ก็เปิดเครื่องปั๊มลมเพื่อเติมออกซิเจนให้กับน้ำและให้ระบบการกรองเริ่มทำงานทันที
   น้ำที่เหมาะสมสำหรับใช้เลี้ยงปลาในตู้มากที่สุด คือ น้ำประปา เนื่องจากผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนมาแล้วจึงมั่นใจได้ว่าไม่เป็นพาหะนำเชื้อโรค มาแพร่สู่ปลาที่เลี้ยง น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นน้ำจากบ่อ แม่น้ำ คลอง  บึง ไม่เหมาะจะเอามาใช้เลี้ยงปลาทองเพราะเสี่ยงต่อจุลินทรีย์ที่ปะปนมากับน้ำซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลา
วิธีกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปา
   การกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เอาน้ำประปาไปพักไว้ในภาชนะสำหรับกักเก็บน้ำ เช่น ตุ่ม ถัง หรือแม้แต่ตู้ที่จะเลี้ยง ปลาเป็นเวลาประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยไปจนหมด ระหว่างการพักน้ำหากเป่าอากาศลงไปด้วยก็จะช่วงเร่งคลอรีนให้ระเหยเร็วยิ่งขึ้น
   วิธีกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปาที่สะดวกที่สุดก็คือ เปิดน้ำประปาผ่านเข้าไปในเครื่องกรองน้ำแล้วเอาน้ำที่ออกมาไปใช้เลี้ยงปลาได้เลย เนื่องจากเครื่องกรองน้ำมีผงถ่านคาร์บอน  
(Activated carbon)  ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับคลอรีน สี และ กลิ่นต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำทำให้น้ำที่ออกมาใสสะอาดปราศจากสีและกลิ่น
   การกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปาอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้สารกำจัดคลอรีน สารที่มีว่านี้มีชื่อทางเคมีว่า "โซเดียมไธโอซัลเฟต"  
(soudiumthio-sulfate)  การใช้สารกำจัดคลอรีนต้องทำตามคำแนะนำในฉลากข้างภาชนะบรรจุโดยเคร่งครัด ถ้าใช้มากเกินไปตัวสารกำจัดคลอรีนเองจะกลับมาเป็นอันตรายต่อปลาที่ปล่อยลงไปเลี้ยงได้
การปล่อยปลาลงตู้
   ก่อนปล่อยปลาลงตู้เลี้ยงควรสังเกตดูว่าน้ำสะอาดดีแล้วหรือยัง การปล่อยปลาลงตู้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่จะมองข้าม นักเลี้ยงปลาตู้ถือเป็นขั้นตอนสำค้ญที่สุดของการเลี้ยงปลาหากไม่รู้เทคนิคปลาอาจตายหรือไม่ยอมกินอาหารสาเหตุเนื่องจากความแตกต่างของสภาพน้ำในตู้กับสภาพน้ำในถุงปลาที่ซื้อมา
การให้อาหารปลาทอง
   ปลาทองกินอาหารได้ทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ และทั้งที่เป็นอาหารธรรมชาติและอาหารสำเร็จรูป
   อาหารประเภทพืช 
    ได้แก่ สาหร่าย แหนเป็ด และผักต่างๆ อาหารเหล่านี้เป็นตัวเสริมสร้างวิตามิน บางชนิดมีประโยชน์ทำให้สีของปลาเข้าขึ้น อย่างเช่นสาหร่ายสไปรูลิน่า  ซึ่งปัจจุบันผลิตออกมาในรูปอาหารสำเร็จรูป นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย อาหารพืชจากธรรมชาติได้แก่  แหนเป็ด หรือผัก
   อาหารประเภทสัตว์ 
   ได้แก่  ลูกน้ำ ไรแดง 
(Moina) ไรน้ำตาล (Artemia)  หนอนแดงและไส้เดือนน้ำ  สิ่งที่มีชีวิตเหล่านี้อุดมไปด้วยโปรตีน สารประของกรดอะมิโนที่ช่วยให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว มีความสมบูรณ์ทางเพศดี
   อีกปัญหาหนึ่งสำหรับอาหารปลาทองที่มีชีวิต คือ การเก็บรักษาอาหารให้สดอยู่ตลอดเวลา ซึ้งอาหารแต่ละชนิดก็มีวิธีเก็บรักษาที่แตกต่างกันไป คือ
    ลูกน้ำ  มีปัญหาที่ลูกน้ำกลายเป็นยุงมารบกวนสมาชิกในครอบครัวการเก็บรักษาลูกน้ำที่ถูกต้องคือ นำภาชนะที่ใช้เก็บลูกน้ำไปตั้งไว้นอกบ้านที่ไม่โดนแดด เติมน้ำลงไปให้ระดับน้ำเสมอขอบปากภาชนะ ใช้มุงลวดกันยุงปิดทับโดยใช้มุงลวดสัมผัสกับผิวน้ำโดยตลอดไม่เหลือที่ว่าง โดยธรรมชาติแล้วลูกน้ำก็กลายเป็นยุงจะอยู่ในน้ำต่อไปอีกไม่ได้
   ไรแดง  มีปัญหาเรื่องการตายเพราะขาดออกซิเจน ปกติไรแดงจะลอยตัวเป็นกลุ่มอยู่ที่ผิวน้ำ ตัวที่ตายแล้วสีจะซีดจนเป็นสีขาวและจมลงสู่ก้นภาชนะ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้น้ำเน่าเสียมีกลิ่นเหม็นไรแดงที่ตายจนเน่าแล้วถ้าเอาไปให้ปลากินปลาจะท้องเสีย  เพราะฉะนั้นเวลาเอาไรแดงไปให้ปลากินควรช้อนที่ผิวน้ำเบา ๆ ป้องกันไม่ให้ไรแดงตาย
   ไรน้ำตาล   บางทีเรียกไรทะเลเป็นสัตว์น้ำเค็ม
 

ไรน้ำตาล บางทีเรียกไรทะเลเป็นสัตว์น้ำเค็มเวลานำมาเป็นอาหารปลาทองซึ่งอยู่ในน้ำจืด  ม้นจะมีวิธีอยู่ได้ไม่นานก็ตายเป็นปัญหาทำให้น้ำที่เลี้ยงปลาเกิดการเน่าเสีย ดังนั้นจึงควรให้ปลากินทีละน้อยรอจนปลากินหมดเสียก่อนจึงค่อยให้เพิ่ม ส่วนที่เหลือจากปลากินไม่หมดต้องชอนออก อีอย่างหนึ่งคือเรื่องการเก็บรักษาไรน้ำตาลให้มีชีวิตยืนยาวจะต้องเก็บไว้ในน้ำทะเลแต่สามารถทดแทนโดยใช้เกลื่อละลายน้ำอัตราส่วน  เกลือ1 กิโลกรัมต่อน้ำ  3-10  ลิตร  น้ำที่มีความเค็มมากจะช่วยให้ยืดอายุได้ยาวขึ้น
หนอนแดงและไส้เดือนน้ำ  ใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อช่วยให้ระบบการขับถ่ายของปลาดีขึ้น โดยทั่วไปจะให้ปลากินสัปดาห์ละ  
1-2  ครั้ง  ถ้าให้มากไปปลาจะท้องเสียถ่ายไม่หยุด  ปัญหาของหนอนแดงและไส้เดือนน้ำเช่นเดียวกับอาหารมีชีวิตทั่วไป  คือ  ถ้าปลากินไม่หมดเหลือตกค้างอยู่ในตู้จะทำให้เน่าเสีย  จึงควรให้แค่พอปลากินหมดและยังมีปัญหาเรื่องการรักษา  เนื่องจากน้ำที่ใช้กักเก็บหนอน แมง และไส้เดือนน้ำจะเสียเร็ว  จึงต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน และพ่นอากาศลงไปในน้ำแรงๆ  เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้เพียงพอตลอดเวลา
อาหารสำเร็จรูป
   เป็นอาหารปลาที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก  เนื่องจากหาซื่อง่ายและเก็บไว้ได้นาน  อาหารสำเร็จรูปที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงปลาทองควรเลือกชนิดที่มีโปรตีนสูง  โดยทั่วไปอาหารปลาทองจะประกอบด้วยโปรตีน  
40%  คาร์โบไฮเดรต  44%  ไขมัน  10%  วิตามินและเกลือแร่  6%  ถ้าอาหารมีปริมาณโปรตีนต่ำปลาจะโตช้าและความสมบุรณ์ทางเพศจะลดลง  แต่ถ้าอาหารมีโปรตีนต่ำมากเกินไปปลาจะขับของเสียออกมามาก  จะทำให้ปริมาณแอมโมเนียในน้ำสูง  ซึ่งเป็นพิษต่อปลา
    อาหารสำเร็จรูปมีการผลิตออกมาหลายรูปแบบทั้งแบบเม็ด  แบบก้อน  แบบแผ่น  และเป็นผง  แต่ที่จะเหมาะกับปลาทองน่าจะเป็นแบบเม็ด  ขนาดไม่ใหญ่เกินไป เพราะทำให้ปลากินยากและย่อยลำบาก
   เทคนิคการให้อาหารปลาทองคือ  ไม่ควรให้ปลากินอาหารแต่ละมื้ออิ่มเกินไป   อาจทำให้ปลาจุกตายได้ทางที่ดีควรให้ปลากินแค่พออิ่ม ปลาจะได้ว่ายน้ำไปมาเพื่อหาอาหารกินอีกได้  เป็นการช่วยให้ปลาได้ออกกำลังกาย ปลาจะแข็งแรงและกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นแล้วควรให้อาหารปลาทุกวันในเวลาเดียวกันทุกวัน  เพื่อให้ปลาเกิดความเคยชินและกระตุ้นให้อยากกินอาหาร
อาหารเร่งสี
   สีของปลาทองเกิดจากเซลล์เม็ดสีในชั้นผิวหนังผลิตสารคาร์โรตินอยล์ขึ้นมาถ้าผิวหนังมีสารคาร์โรตินอยล์มากก็จะทำให้ปลามีสีสดใสและเข็มสารคาร์โรตินอยล์ชนิดแอสตาแซนธินทำให้ปลามีสีแดงหรือสีเหลืองปัจจุบันมีการใช้สารแอสตาแซนธินผสมในอาหารเพื่อให้ปลามีสีแดง และมีการใช้สาหร่าย สไปรูลิน่า  ผสมในอาหารปลาเพื่อเพิ่มความเข้มของสีแดงส้ม  หรือเหลืองในตัวปลาอาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่มีสไปรูลิน่าผสมอยู่ไม่เกิน  
10%  ทำให้มีสีเขียว
   อาหารที่ผสมสารเร่งสีโดยมากจะใช้เลี้ยงปลาทองที่มีอายุประมาณ  
3  สัปดาห์  โดยให้กินมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นก็ให้อาหารที่มีชีวิตมื้อที่มีโปรตีนสูง

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
   แม้ระบบกรองน้ำจะสามารถกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นภายในตู้ปลาได้ก็ตาม  แต่คุณภาพน้ำก็ยังคงลดลงอยู่ดี  วิธีรักษาคุณภาพน้ำให้ดีอยู่เสมอไม่มีวิธีใดดีไปกว่าการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ปกติการเลี้ยงปลาในตู้ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกระยะ  
1-2  สัปดาห์  หรือถ้าสังเกตเห็นเริ่มมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อนที่เรียกว่า "น้ำแก่"   แสดงว่ามีแร่ธาตุหรือสารต่าง ๆ ละลายปนอยู่ในน้ำมากเกินกว่าปกติ หรือกระจกข้างตู้มีรอยครบตะไคร่น้ำจับ  แสดงว่าคุณภาพน้ำในตู้ไม่เหมาะกับการเลี้ยงปลาและจะต้องทำการเปลี่ยนน้ำทันที

การจับปลาทองอย่างถูกวิธี
   การจับปลาทองโดยใช้กระชอนไนล่อนตักเหมือนอย่างปลาสวยงามอื่น ๆ  ครีบและหางของปลาทองอาจพับและถูกลำตัวทับหักได้กลายเป็นปลาพิการ  วิธีที่ถูกควรใช้กระบวยหรือขันตักปลาขึ้นมาพร้อมกับน้ำกระบวยหรือขันที่ใช้ตักปลาทองจะต้องมีความลึกพอดีที่น้ำจะท่วมมิดตัวปลา มิฉะนั้นครีบหรือหางอาจถูกลำตัวปลาทับหักได้  สำหรับผู้ที่ชำนาญเขาใช้มือช้อนใต้ท้องปลาเป็นส่วนใหญ่แต่ถ้าไม่ชำนาญไม่ต้องจับอาจทำให้เสียปลาไปก็ได้

การเพาะพันธุ์ปลาทอง
   คนเลี้ยงปลาทองส่วนใหญ่จะเลี้ยงดูเล่นเพื่อความเพลิดเพลินไม่ได้คิดจะเพาะพันธุ์  แต่ปลาทองที่เลี้ยงไว้อาจเพาะพันธุ์กันเอง  เกิดปัญหากับคนเลี้ยงว่าจะทำอย่างไรกับไข่และลูกปลาที่ออกมา  ถ้าได้รู้เรื่องการเพาะพันธุ์ปลาทองไว้บ้างปัญหาเหล่าน้ำก็จะหมดไป หรืออยากจะลองเพาะพันธุ์ดูบ้างก็สามารถทำได้

การดูเพศปลา
   ก่อนทำการเพาะพันธุ์ปลาทอง  สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ  การดูเพศของปลาให้เป็น  ต้องแยกให้ออกว่าตัวไหนเป็นเพศผู้  ตัวไหนเป็นเพศเมีย  โดยทั่วไปเพศปลาทองจะเริ่มปรากฎให้เห็นเมื่อปลามีอายุตั้งแต่  
4-6  เดือนขึ้นไป  ความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมียเห็นได้ชัดจากลักษณะภายนอกโดยสังเกตดังนี้
รูปร่าง   ปลาเพศผู้จะเพรียว  ส่วนเพศเมียจะป้อมสั้นกว่ายิ่งช่วงใกล้วางไข่  ท้องปลาเพศเมียจะกางออกอย่างเห็นได้ชัด
ผนังส่วนท้อง   ปลาตัวผู้จะแบนและแข็ง แต่ของตัวเมียจะกลมและอ่อนนุ่ม
บริเวณกระพุ้งแก้ม  ปลาเพศผู้ที่พร้อมเจริญพันธุ์จะตุ่มเล็กๆ สีขาวขุ่นคล้ายเม็ดสิว  เอามือลูบจะรู้สึกสาก  แต่เพศเมียบริเวณเหงือกจะเรียบและลื่น
ครีบอก   ปลาเพศผู้มีตุ่มสีขาวขุ่น ๆ โดยเฉพาะที่เส้นก้านครีบแข็งจะเห็นชัด  ส่วนครีบอกเพศเมียจะเรียบ
รูทวาร   ของปลาเพศผู้เป็นรูปวงรีชั้นเดียว  แต่ของปลาเพศเมียมีลักษณะค่อนข้างกลม ยิ่งใกล้เวลาวางไข่ ท่อรังไข่จะยื่นโปนออกมาจนเห็นได้ชัด  และรอบๆ รูทวารจะเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
   เมื่อสามารถแยกออกแล้วว่าปลาตัวไหนเพศผู้ตัวไหนเพศเมีย  ต่อไปก็จะต้องเลือกปลาที่จะเอามาทำพ่อแม่พันธุ์ โดยมีหลักการพิจารณาดังนี้
   อย่าเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มาจากครอกเดียวกัน การผสมพันธุ์ปลาที่มีสายเลือดเดียวกันหรือที่เรียก  "การผสมเลือดชิด" 
(Inbreeding)  ลูกปลาที่ได้มักมีลักษณะด้อย  อ่อนแอ  โตช้า  หรือลักษณะผิดปกติหรือพิการ
   เลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่อยู่ในวัยรุ่น  อายุตั้งแต่  
5-6  เดือนขึ้นไปแต่ช่วยที่เหมาะคือ  อายุ 7-8  ปี  แต่เนื่องจากบ้านเราเป็นเมืองร้อน ปลาทองวางไข่ได้ตลอดปีแม่พันธุ์ตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ทุกระยะ 2-4  สัปดาห์   การเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มี่ลักษณะดี  รูปร่างใหญ่แข็งแรง  สีเข้ม  แต่ปลาแม่พันธุ์ที่ตัวใหญ่มักให้ไข่น้อย  เนื่องจากไขมันมากจะทำให้รังไข่ตีบตันนักเพาะพันธุ์ปลาทองมืออาชีพจึงนิยมเลือกแม่พันธุ์ที่มีขนาดปานกลางมากกว่า

การเตรียมความพร้อมให้พ่อแม่พันธุ์ปลาทอง
   พ่อแม่พันธุ์ปลาทองที่คัดได้แล้วจะต้องได้รับการดูแลรักษาเอาใจใส่เป็นพิเศษ  เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่ ปลาจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้เองตามธรรมชาติ
   การเลี้ยงปลาทองเ
พื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ สำหรับมืออาชีพเขาเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ ส่วนมือสมัครเล่นอาจเลี้ยงในตู้กระจกแต่ตู้กระจกมีข้อเสียตรงที่ปลาตกใจง่าย อาจทำให้การพัฒนาของไข่ชะงักไป
   โดยทั่วไปแล้วปลาพ่อแม่พันธุ์จะเลี้ยงในน้ำที่มีความลึกประมาณ  
20-40  เซนติเมตรที่สำคัญไม่ควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทองต่างสายพันธุ์ในที่เดียวกัน อาจเกิดการผสมข้ามพันธุ์โดยบังเอิญและได้ลูกปลามีลักษณะที่ไม่ต้องการ
   ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรแยกปลาออกมาเลี้ยงตามลำพัง เพื่อให้ปลามีความแข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่ แต่ไม่ควรให้อาหารมากเกินไป จะทำให้ปลาอ้วน ไขมันจะไปทับรังไข่ในตัวเมีย ทำให้ตัวเมียวางไข่ได้น้อย หรือน้ำเชื้อฉีดน้ำเชื้อออกมาน้อย นอกจากนั้นแล้วควรงดให้อาหารประเภทสำเร็จรูปชั่วคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ผสมสารเร่งสี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ปลาวางไข่น้อยหรือว่างไข่ช้า
   สถานที่เลี้ยงปลาพ่อแม่พันธุ์ปลาทองควรเป็นบริเวณที่แดดส่องถึงตอนช่วงเช้าและเย็น แต่ถ้าเลี้ยงปลาแสงสว่างจากหลอดไฟที่ส่องลงในตู้ปลาสามารถทดแทนแสงแดดได้เช่นกัน
 

การตรวจสอบความพร้อมของพ่อแม่พันธุ์
   ก่อนเอาพ่อแม่พันธุ์ปลาทองมาผสมพันธุ์กัน ปลาต้องอยู่ในสภาพพร้อมจะผสมพันธุ์เสียก่อน จะรู้ว่าปลาตัวไหนพร้อมหรือยัง วิธีที่ดีที่สุดคือ สังเกตที่ตัวปลา
   ถ้าเป็นตัวเมีย ท้องจะกว้างใหญ่กว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด เอามือลูบที่ท้องจะรู้สึกนิ่มและมีเมือกลื่นกว่าปกติ ถ้าใช้มือรูปที่ท้องเบาๆ  ไข่ปลาจะไหลทะลักออกมา หรือสังเกตที่รูทวารจะเป็นสีชมพูเรื่อๆ ปลาทองบางตัวจะเห็นท่อรังไข่ยื่นยาวออกมา แสดงว่าปลากำลังจะวางไข่
    ส่วนปลาตัวผู้จะแสดงอาการคึกคัก  ถ้าในที่เลี้ยงมีปลาตัวเมียอยู่ด้วยมันจะว่ายไล่รัดปลาตัวเมียตลอดเวลา  ถ้าสังเกตที่บริเวณกระพุ้งแก้มจะเห็นมีเม็ดตุ่มเล็กๆ  ใช้มือลูบดูจะรู้สึกสาก ๆ  ที่ครีบอกจะเห็นมีตุ่มสีขาวแสดงว่าปลาพร้อมจะผสมพันธุ์แล้วและลองใช้มือรีดที่ท้องปลาเบา ๆ ปลาตัวผู้ที่พร้อมจะผสมพันธุ์จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา  เป็นวิธีตรวจที่แน่นอนที่สุด

การเพาะพันธุ์
   การเพาะพันธุ์ปลาทองสามารถทำการเพาะพันธุ์ในอ่างปลาหรือตู้กระจกก็ได้ โดยเฉพาะที่จะใช้เพาะพันธุ์ต้องผ่านการล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยด่างทับทิมมาแล้ว ใส่น้ำสะอาดที่ปราศจากคลอรีนลงไปให้ระดับน้ำสูงประมาณ  
20-40  เซนติเมตรเนื่องจากปลาทองวางไข่กระจัดกระจาย  และไข่ปลาจะไปเกาะติดกับพืชใต้น้ำ จึงต้องใส่พืชน้ำจำพวกสาหร่ายลงไปในที่เพาะสำหรับให้ไข่ปลาเกาะ  สาหร่ายอาจมีเชื้อโรคติดมาด้วย ก่อนใส่จึงควรไปแช่ด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อเสียก่อน 
   อุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการเพาะพ้นธุ์ปลาก็คือ เครื่องปั้มลม   เนื่องจากขณะที่ปลาวางไข่ผสมพันธุ์ปลาจะเหนื่อยและอ่อนเพลียต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ ถ้าปริมาณออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอปลาอาจตายได้
   เมื่อเตรียมภาชนะสำหรับเพาะพันธุ์ปลาไว้พร้อมแล้ว ก็นำพ่อแม่พันธุ์ที่คัดไว้และมีความพร้อมจะผสมพันธุ์มาปล่อยลงในที่เพาะ อาจใช้พ่อพันธุ์ 
1 ตัวต่อแม่พันธุ์ ตัว หรือพ่อพันธุ์ 2 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 1  ตัว  ขึ้นอยู่ปริมาณของน้ำเชื่อตัวผู้และความสัมบูรณ์ของแม่พันธุ์
   การผสมพันธ์ของปลาทองอาจต้องใช้เวลาถึง  
3  ชั่วโมง กว่าแม่พันธุ์จะวางไข่หมด โดยทั่วไปแม่ปลาวางไข่ครั้งละ  500-50000 ฟอง  ปริมาณไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา ปลาตัวเล็กจะไข่น้อยกว่าปลาตัวใหญ่
   เมื่อแม่ปลาวางไข่หมดแล้วต้องแยกพ่อแม่ปลาออกจากที่เพาะ  มิฉะนั้นแม่ปลาจะกินไข่และลูกปลาของตัวเองหมด  พ่อแม่ปลาที่ผสมพันธุ์แล้วควรแยกไปเลี้ยงในอ่างพักฟื้นตากหากไม่รวมกับปลาอื่น เพื่อให้ปลาที่อยู่ในสภาพอ่อนเพลียได้พักฟื้นจนแข็งแรงดีแล้วจึงค่อยย้ายไปเลี้ยงรวม
    หลังจากปลาวางไข่แล้วควรใส่ยาปฏิชีวนะลงไปในอ่างเพาะเพื่อป้องกันไข่ไม่ให้ติดเชื้อโรคซึ่งจะทำให้ไข่เสียได้ แม้กระทั่งพ่อแม่พันธ์ที่แยกไปเลี้ยงในอ่างพักฟื้นซึ้งกำลังอยู่ในสภาพอ่อนเพลีย ก็ควรป้องกันไว้ด้วยยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้ได้แก่ เพนนิซิลิน เตตร้าชัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล ฯลฯ
   ไข่ปลาทองมีลักษณะทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 
1 มิลลิเมตร รอบนอกเป็นเมือกเหนียวช่วยในการยืดเกาะวัตถุต่างๆ ไข่ที่ได้รับการผสมกับเชื้อตัวผู้แล้วจะมีสีเหลืองนวลใส ส่วนไข่ที่ไม่ได้ผสมกับเชื้อไข่พวกนี้จะขึ้นราเป็นขุยคล้ายสำลี แล้วลามไปยังไข่ฟองอื่นจนอาจทำให้ไข่เสียหมดเลยก็ได้
    ไข่ที่เริ่มฟักตัวจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีจากสีเหลืองนวลเป็นสีส้ม จากนั้นจะมีจุดสีดำของลุกตา (          ) 
2 จุดปรากฏขึ้นต่อจากนั้นส่วนหางจะค่อย ๆ เจริญขึ้น มองเห็นกระดิกไปมาอยู่ตลอดเวลา พอถึงวันที่ 3 ไข่ปลาก็จะฟักออกเป็นตัวสมบูรณ์
    ลูกปลาที่ฟักออกจากไข่ในระยะแรกตัวจะใสและเกาะติดอยู่กับรังไข่หลังจากนั้นจะผละจากรังไข่ออกไปว่ายน้ำเป็นอิสระ ในระยะนี้ลูกปลาจะมีสีน้ำตาลคล้ำหรือสีดำ จนกระทั่งอายุตั้งแต่ 
สัปดาห์ขึ้นไปแล้วสีทองจึงจะเริ่มปรากฏให้เห็น
    การอนุบาลลูกปลา
    
ช่วงที่ลูกปลาฟักเป็นตัว 
2-วันแรกยังไม่ต้องให้อาหาร เนื่องจากลูกปลามีถุงอาหาร (          ) ติดอยู่ซึ่งสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ 2-3วันหลังจากวันที่ 3 แล้วจึงค่อยให้อาหารจำพวกลูกไรแดงขนาดเล็กที่ผ่านการกรองด้วยตาข่าย หรือไข่แดงต้มสุกละลายน้ำหยดให้ลูกปลากินวันละ 3-ครั้งก็ได้ การให้ไข่แดงเป็นอาหารลุกปลาจะต้องให้ที่ละน้อย รอให้ปลากินหมดเสียก่อนจึงเพิ่ม ถ้าปลากินเหลือจะต้องรีบดูดออกทันทีมิฉะนั้นไข่แดงจะละลายเข้ากับน้าทำให้น้ำขุ่นและเน่าเสียได้
    หลังจากให้ลูกปลากินลูกไรแดงขนาดเล็กหรือไข่แดงละลายเป็นเวลา 
3 วัน ควรเปลี่ยนเป็นไรแดงขนาดใหญ่ขึ้น จนลูกปลาอายุ 15 วัน ไปแล้วค่อยให้อาหารสำเร็จรูปและอาหารสดที่มีขนาดใหญ่เช่นลูกน้ำใส้เดือนน้ำ วันละ 3-ครั้ง
    ช่วงลูกปลาอายุต่ำกว่า 
1 เดือน ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนถ่ายน้ำถ้าจำเป็นก็ควรเปลี่ยนถ่ายครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำทำให้ลูกปลาตาย อัตราการเปลี่ยนถ่ายน้ำแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 20 % ของน้ำในอ่างอนุบาล การเปลี่ยนถ่ายน้ำควรใช้สายยางาขนาดเล็กดูดน้ำ และใช้มุ้งลวดทำเป็นรูปกรวยครอบปลายสายยาง เพื่อลดแรงดูดน้ำและป้องกันลูกปลาถูกดุดเข้าไปในสายยาง
   ลูกปลาที่อนุบาลจนอายุได้ 
2-สัปดาห์ ขึ้นไปควรคัดขนาดเพื่อแยกเลี้ยง โดยปกติปลาแต่ละตัวในครอกเดียวกันจะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ตัวที่แข็งแรงจะกินเก่งและโตไวกว่าตัวที่อ่อนแอ ถ้าเลี้ยงรวมกันตัวที่อ่อนแอจะได้รับอาหารไม่เพียงพอตัวจะเล็กหรือแคะแกรน แต่ถึงแม้ลูกปลาจะมีขนาดใกล้เคียงกันทั้งครอก ก็ต้องแบ่งไปเลี้ยงอยู่ดี เพราะลูกปลามีการเจริญเติบโตขึ้นทุกวัน ย่อมต้องการพื้นที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ถ้าพื้นที่เลี้ยงมีลูกปลาแออัดเกินไป น้ำจะเสียเร็วเพราะมีของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมามากปริมาณออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกปลา และลูกปลาจะไม่แข็งแรงเพราะมีเนื้อที่ว่ายน้ำออกกำลังกายน้อย ป่วยเป็นโรคง่าย นอกจากคัดแยกลูกปลาตามขนาดแล้ว ลูกปลาที่มีลักษณะดีต้องคัดแยกออกมาเลี้ยงต่างหากอีกเหมือนกัน โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรงของลำตัวและครีบต่างๆ โดยเฉพาะครีบหาง ส่วนลูกปลาลักษณะพิการ เช่นตาบอด ครีบไม่ค่อยครบหรือหักพับ และปลาลักษณะรูปทรงผิดเพี้ยนจากสายพันธุ์เดิม ควรคัดออกไปเป็นปลาเหยื่อ แต่ปลาที่ป่วยเป็นโรคจะต้องคัดทิ้งหรือแยกไปทำการรักษา
   ปลาป่วย
   
วิธีสังเกตปลาป่วย ถ้าท่านเลี้ยงปลาทองและมีเวลาดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอ จะทราบทันทีเมื่อปลาที่เลี้ยงมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ปลาที่ป่วยเป็นโรคสามารถสังเกตได้จากลักษณะและพฤติกรรมดังนี้
   มีอาการเชื่องซึม ว่ายน้ำผิดปกติว่ายน้ำหมุนควงหรือตีลังกา ว่ายน้ำเอาตัวถูกขอบหรือก้นภาชนะที่เลี้ยง  ว่ายมาออที่ผิวน้ำหรือกบดานอยู่ที่หัวทรายเป่าลมขณะว่ายน้ำไม่กางครีบ
   ปลาไม่ยอมกินอาหาร ซึ่งผิดธรรมชาติของปลาทองที่กินอาหารเก่งและกินเกือบตลอดเวลา ยกเว้นในช่วงอากาศหนาวที่ปลาจะไม่กินอาหารถือเป็นเรื่องปกติ
   ปลามีบาดแผลตามลำตัว หรือมีเลือดออกตามเกล็ด
   ตามลำตัวปลามีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่  ลักษณะอาจเป็นเส้นคล้ายด้าย  เป็นก้อนสีขาวคล้ายสำลี  เป็นเม็ดใสคล้ายวุ้น  หรือเป็นตุ่มนูนคล้ายสิว
   เกล็ดปลาพองต้องชัน ส่วนท้องปลาโตทั้งที่ไม่มีไข่  เรียกว่า  "ท้องมาร" 
   ปลาขับเมือกออกมามากกว่าปกติ  น้ำมีสีขาวขุ่น  ภาชนะที่ใช้เลี้ยงมีเมือกจับเต็มไปหมด
   ครีบและหางกร่อนแหว่ง  หรือมีขุยจับอยู่ตามครีบและหางหรือหางและครีบมีเส้นเลือดแดงขึ้นมากผิดปกติ
   เหงือกบวมแดง  เนื่องจากหายใจไม่สะดวก เหงือกต้องทำงานหนัก
สาเหตุที่ทำให้ปลาป่วย
สาเหตุเกิดจากน้ำ
   น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของปลาถ้าสภาพน้ำดีปลาก็จะสดชื่น แข็งแรง  แต่ถ้าสภาพน้ำไม่ดีปลาจะป่วยหรืออาจตายได้  สภาพน้ำที่ส่งผลทำให้ปลาป่วยมาจากหลายสาเหตุ  เช่น 
   อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงกระทันหัน
   ในการเปลี่ยนน้ำถ้าน้ำเลี้ยงปลากับน้ำที่เปลี่ยนถ่ายเข้าไปใหม่มีอุณหภูมิต่างกันมาก  ปลาอาจปรับตัวไม่ทันและเกิดป่วยขึ้นได้การเปลี่ยนถ่ายน้ำในที่เลี้ยงปลาแต่ละครั้งจึงควรเปลี่ยนถ่ายครั้งละน้อยๆ โดยทั่วไปจะเปลี่ยนถ่ายครั้งละไม่เกินครึ่งหนึ่งของปริมาตรน้ำที่มีอยู่ในที่เลี้ยงปลา
   ความสกปรกของน้ำ
   ความสกปรกของน้ำในที่เลี้ยงปลา  เกิดจากของเสียที่ปลาขับออกมาและเศษอาหารที่ปลากินเหลือตกค้างอยู่ เป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคที่ทำให้ปลาป่วยได้ นอกจากนั้นแล้วของเสียเหล่านี้ยังถูกแบคทีเรียในธรรมชาติย่อยสลายเป็นแอมโมเนียและสารประกอบแอมโมเนียซึ่งถ้ามีจำนวนมากจะเป็นพิษ อย่างร้ายแรงต่อปลา  และระบบกรองน้ำทั่วไปกำจัดไม่ได้  สามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ
   ระดับออกซิเจนในน้ำต่ำ
   ปลาต้องการออกซิเจนในน้ำต่ำ
   ปลาต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในระบบหายใจ โดยดึงออกซิเจนจากน้ำในที่เลี้ยงตลอดเวลา ปริมาณออกซิเจนในน้ำจะลดลงจนอาจไม่พอกับความต้องการของปลา  ทำให้ปลาอ่อนเพลีย  ภูมิคุ้มกันโรคลดลงปลาอาจจะป่วยหรือตายได้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต่อการใช้เครื่องปั้มลมเป่าอากาศลงไปในน้ำที่เลี้ยงปลาตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้แน่ใจว่าปลาจะไม่ขาดออกซิเจน
สาเหตุเกิดจากพาหนะนำเชื้อโรค
   อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาทองอาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่ปลาที่เลี้ยงได้ อาหารสดมีชีวิต เช่น  ลูกน้ำ  ไรแดง  หนอนแดง  อาจนำเชื้อโรคและปรสิตมาสู่ปลาเช่น  หนอนสมอ  โรคจุดขาว  เป็นต้น ดังนั้นก่อนเอาอาหารพวกนี้ให้ปลากินจะต้องเอาไปแช่ด่างทับทิมละลายน้ำประมาณ  5-10  นาที  เสียก่อน
   สาเหตุเกิดจากอุปกรณ์เลี้ยงปลา
   สาเหตุที่ปลาเป็นโรคอาจเกิดจากอุปกรณ์ที่เลี้ยงปลา  เช่น กระชอน สายยางดูดน้ำ  หรือแม้แต่ภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลา  ถ้าของเหล่านั้นใช้ปะปนกับปลาที่ป่วยอยู่แล้ว  เชื้อโรคจะติดมากับอุปกรณ์และแพรดไปสู่ปลาที่ไม่เป็นโรค  นอกจากนี้อุปกรณ์ที่หรือภาชนะที่ใช้สำหรับใช้กับปลาที่ป่วยเป็นโรคแยกไว้ต่างหาก 
   สาเหตุเกิดจากคน 
   ปลาทองป่วยเพราะติดเชื้อโรคมาจากผู้เลี้ยงเองหรือคนอื่นที่จุ่มมือลงไปในอ่างเลี้ยงปลา มือที่สกปรกหรือไปจับสิ่งของที่มีเชื้อโรคมาถ้าจุ่มลงไปในอ่างปลาเชื้อโรคจะกระจายลงไปในน้ำอาจทำให้ปลาป่วยได้  ดังนั้นคนที่ชอบเลี้ยงปลาควรล้างมือให้สะอาดเสียก่อน
    
  
 ที่มา...
http://www.boonrarat.net/goldfish/Technic.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น