วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปปลาทองน่ารักน่ารักของเพื่อนๆครับ




หิว..ว่ายกันวุ่นเลย




ได้อาหาร..บายใจ




ตัวแดงๆ เข้าแถว








ที่มา...http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=158459.30

ต้องมีอะไรบ้างในการเลี้ยงปลาทอง


   ปลาทองเป็นปลาที่มีผู้คนนิยมเลี้ยงกันมากชนิดหนึ่ง การเลี้ยงมีหลากหลายแบบซึ่งบางคนเลี้ยงปลาทองในตู้ บางคน  เลี้ยงในอ่าง ในบ่อ ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องความชื่นชอบและความสะดวกของแต่ละคน แต่เรื่องที่นักเลี้ยงปลาทองหลายคน      ประสบกันมาก นั่นก็คือ จะเลี้ยงปลาทองอย่างไรให้สวย ให้ออกมาสมบรูณ์ ซึ่งเรื่องพวกนี้ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ประสบ   ปัญหา มันต้องมีอะไรบ้างในการเลี้ยงปลาทอง 
    ดังนั้นวันนี้ผมจึงไปหาคำตอบกับนักเลี้ยงปลาทองเกรดบน ที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับถึงความสามารถ นั่นคือ                     พี่หนึ่ง NK Farm 
 
ปลาทอง NK

ปลาทอง NKทำไมต้องเป็นพี่หนึ่ง เอ็นเค ฟาร์ม ผมมีเหตุผล    ก็คือเพราะพี่หนึ่งเป็นนักเพาะเลี้ยงปลาทองที่ประสบความสำเร็จ และเป็นเจ้าของรางวัลที่     การันตีคุณภาพมากมาย ทั้งในและต่างประเทศ  ในนามของ NK Farm และแม้นวันนี้พี่หนึ่งจะไม่ ส่งปลาเข้าประกวดแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นผู้ที่อยู่ เบื้องหลังปลาทองคุณภาพมากมายของนักประกวดปลาทองที่ส่งปลาทองประกวด โดยปลาทองที่เข้าประกวดจากลูกค้าของเอ็นเค  ฟาร์ม สามารถกวาดรางวัลเรียบแทบทุกรางวัล รวมถึงรางวัล Best in show และล่าสุดที่งานประมงฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต ที่ปลาของเอ็นเค สามารถกวดรางวัล ที่ 1,2,3 รวมถึงรางวัล ชมเชย และรางวัลที่ 1 และ 3 ประเภทปลาฮอลันดา ไซด์ตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไป นั่นน่าจะเป็น  การรับประกันความสมารถในการเพาะเลี้ยง     และคัดเกรดปลาทองของพี่หนึ่งได้เป็นอย่างดี

การพูดคุยกับพี่หนึ่งในวันนั้น ทำให้ผมทราบว่าพี่หนึ่งมีเทคนิคมากมายเพื่อเลี้ยงปลาทองให้สวยและตัวใหญ่ โดยปลาไม่เสียสมดุลในโครงสร้างของปลาทองที่ดีไป นั่นคือความท้าทายที่พี่หนึ่งบอกว่า ไม่ใช่จะทำกันได้ทุกคน

เริ่มจากการคัดสรรปลาที่มีลักษณะที่ดี ตั้งแต่ปลายังเล็ก ซึ่งตรงจุดนี้พี่หนึ่งได้บอกว่า ปลาทองที่ตอนเล็กๆอาจจะไม่สวยและหลายคนคัดทิ้ง หรือมองว่าเป็นปลารอง แต่บางครั้งผมมองว่าปลาตัวนี้มันมีอนาคต มันสามารถมาดัดได้ ผมก็จะเก็บเอาไว้  และเลี้ยงพร้อมกับปรับโครงสร้างของมัน เพื่อให้มันเป็นปลาที่สวยแชมป์ต่อไป ซึ่งตรงจุดนี้มันเป็นเรื่องของสายตาที่จะมอง เห็นถึงอนาคตของปลาตัวนั้น

สำหรับเทคนิคการเลี้ยง พี่หนึ่งแนะนำว่า การเลี้ยงปลาทองเกรด ต้องลงทุนเยอะหน่อย โดยเฉพาะเรื่องอาหารกับน้ำเพราะ  ปลาของพี่หนึ่งจะเปิดน้ำเติมลงบ่อตลอดเวลาเพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำ สำหรับบ่อที่เลี้ยงขุนพี่หนึ่งก็จะใช้บ่อที่มีขนาดใหญ่ขนาด 3x3 เมตร สูง 80 เซ็นติเมตร และภายในบ่อจะเลี้ยงปลาไม่เกินสามตัว นอกจากนั้นการให้อาหาร ก็ต้องให้ปลากิน  ตลอด ไม่ปล่อยให้ปลาหิว และอาหารก็จะเป็นอาหารที่เป็นสูตรผสมพิเศษ รวมถึงมีการให้สลับกับอาหารสดอย่างไรทะเล สำหรับการให้ไรทะเล พี่หนึ่งบอกว่าจะให้เยอะ ให้ปลากินแบบหายใจก็เข้าปาก แล้วพอช่วงเย็นจึงจะดูดน้ำและไรที่เหลือ   ออก ก่อนที่จะเปลี่ยนน้ำใหม่ ซึ่งการทำแบบนี้นั้นมันเป็นการลงทุน และก็ไม่แปลกครับที่ปลาจาก เอ็นเค ฟาร์ม จะมีราคา   แพงจนนักเลี้ยงปลาทองมือใหม่สะดุ้ง เพราะบางตัวมีราคาเกินครึ่งแสน แต่หากมองว่าแล้วปลาของพี่หนึ่งจะขายได้หรือ       คำตอบคงอยู่ตรงที่พี่หนึ่งเอ็นเค ทำฟาร์มปลาทองมานานกว่า20ปี หากขายไม่ได้คงไม่อยู่ถึงวันนี้ และหากปลาทอง         ของเอ็นเค ไม่สวยจริง คงไม่มีตลาดที่ต่างประเทศ รวมถึงร้านตัวแทนจำหน่ายในนามเอ็นเค ที่สิงคโปร์ อย่างแน่นอน
ปลาทอง NK
ปลาทองNK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK
ปลาทอง NK

สำหรับนักเลี้ยงปลาทองมือใหม่ หรือมือเก่า ที่อยากจะเลี้ยงและขุนปลาเพื่อขายทำราคาแบบเอ็นเค ไม่ใช่จะทำไม่ได้ แต่มันอยู่ที่คุณมีความพร้อมแค่ไหน เพราะมันไม่ใช่แค่เรื่องของเงินทุน แต่มันเริ่มตั้งแต่การคัดปลาเล็กเพื่อจะนำมาเลี้ยงขุนเป็นปลาเกรดสูง เรื่องแบบนี้ล่ะครับที่ผมมองว่ามันไม่ยากแต่ไม่ใช่ง่ายเลย

หากใครมีความสนใจอยากเลี้ยงปลาทองเกรดประกวด หรืออยากจะสอบถามข้อมูล หรือซื้อปลาจากเอ็นเคฟาร์ม ก็ลองสอบถามไปที่พี่หนึ่งดูนะครับ และหวังว่าไม่นานผมคงได้ยินชื่อคุณในฐานะนักประกวดปลาทองมือโปรอีกคนของเมืองไทย
ขอให้มีความสุขกับการเลี้ยงปลาครับ
www.thaifancyfish.com นิตยสารปลาสวยงามออนไลน์




ที่มา...http://www.thaifancyfish.com/index.php?lite=article&qid=42012290

การเพาะเลี้ยงปลาทอง (รศ.ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์)

      ปลาทองหรือปลาเงินปลาทอง มีชื่อสามัญว่า Goldfish   เป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่นิยมเลี้ยงมานานแล้ว จัดเป็นปลาที่ติดตลาด คือเป็นปลาที่มีจำหน่ายในร้านขายปลาสวยงามทุกร้านและสามารถขายได้ราคาดีตลอดปี โดยทั่วไปจัดว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ซึ่งชาวจีนจะเรียกปลาทองที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติว่า Chi Yu และเรียกปลาทองที่เลี้ยงอยู่ตามบ้านว่า Chin Chi Yu ในประเทศญี่ปุ่น ปลาทองได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างมาก และมีการพัฒนาวิธีการเพาะพันธุ์มีการคัดเลือกปลาที่มีลักษณะเด่นต่างๆมาผสมพันธุ์กัน ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะสวยงามขึ้นมาหลายชนิด และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ
                ชาวจีนเป็นชาติแรกที่นิยมเลี้ยงปลาทอง โดยปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมไม่มีความสวยงามมากนัก   มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาไน เพียงแต่ว่ามีสีสันสวยงามและสดกว่าปลาไน   
.
ภาพที่ 1  แสดงลักษณะปลาทองพันธุ์ดั้งเดิม (Wild Type)
                                                ที่มา : Coffey (1977)
               การเลี้ยงปลาทองได้รับความนิยมมากในระหว่างปี พ.. 1243 - 1343   โดยชาวจีนในสมัยนั้นนิยมเลี้ยงปลาทองไว้ในสระน้ำในบริเวณรั้วบ้าน  ต่อมาในปี พ.. 1716 - 1780  มีการนำปลาทองมาเลี้ยงในกรุงปักกิ่ง โดยนิยมเลี้ยงในอ่างกระเบื้องเคลือบ การเลี้ยงปลาทองเพื่อการจำหน่ายจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว เริ่มมีการเพาะพันธุ์ปลาทองและได้พันธุ์ปลาแปลกๆมากขึ้น ในปี พ.. 2043 จึงมีการนำปลาทองเข้าไปเลี้ยงในเมืองซาไกประเทศญี่ปุ่น แต่ได้รับความสนใจมากในปี พ.. 2230 สำหรับประเทศอื่นๆที่มีรายงานเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาทองได้แก่
                ปี พ..  2234   ที่ประเทศอังกฤษ
                ปี พ..  2323   ที่ประเทศฝรั่งเศส
                ปี พ..  2419   ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
                สำหรับในประเทศไทยไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าราวปี พ..  1911 - 2031
.
      
ภาพที่ 2  ลักษณะปลาทองที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ในระยะแรกๆ(Common Goldfish)
                              ที่มา : Bailey and Sandford (2000)    
                Frank (1969)  ได้จัดลำดับชั้นของปลาทองไว้ดังนี้
                Class                       :   Osteichthyes
                  Subclass               :   Teleostei
                    Order                  :   Cypriniformes
                      Suborder           :   Cyprinoidei (Carps)
                        Family             :   Cyprinidae
                          Genus           :   Carassius
                            Species       :   auratus                            
                                                                                                                                  .              
ลักษณะรูปร่างของปลาทอง           
                 ปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในธรรมชาตินั้น มีรูปร่างคล้ายปลาไนแต่มีขนาดเล็กกว่าปลาไนมาก คือ เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก ีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือสีส้ม ส่วนท้องสีจางกว่าลำตัว หรือสีขาว 
                 เนื่องจากมีการนำปลาทองไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ประกอบกับเป็นปลาที่ผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์กับปลาในกลุ่มเดียวกันชนิดอื่นๆได้ง่าย ทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองชนิดใหม่ๆออกมาหลายชนิด มีลักษณะเด่นสวยงามแตกต่างกันไป ซึ่งลักษณะเด่นๆที่สำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ 
  • ครีบหาง เปลี่ยนแปลงจากหางแฉก หรือหางเดี่ยว เป็น หางพวง หรือหางคู่
  • ครีบก้น  เปลี่ยนแปลงจากครีบเดี่ยว เป็น ครีบคู่
  • ครีบหลัง บางชนิดจะไม่มีครีบหลัง
  • ส่วนหัว บางชนิดจะมีลักษณะที่พองออกเป็นวุ้น
  • ตา  บางชนิดมีกระบอกตาที่โป่งพองออก
 .
   ภาพที่ 3  แสดงส่วนต่างๆและรูปร่างของปลาทอง
.
  
ภาพที่ 4  แสดงลักษณะปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์ใหม่         
                                       ที่มา : Free-pet-wallpapers.com (2012) (ซ้าย)   .    
                                                Bailey and Sandford (2000) (ขวา)           
              จากการที่มีการพัฒนาทางด้านการเพาะพันธุ์   มีการคัดเลือกลักษณะเด่นที่ต้องการ  แล้วนำมาเพาะพันธุ์ต่อมาเรื่อยๆ   ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะและสีสันสวยงามหลายแบบด้วยกัน   และมีการตั้งชื่อพันธุ์ต่างๆไว้ดังนี้
                4.1 ปลาทองที่มีหางเดี่ยว   อาจเรียกหางปลาทู  หรือหางแฉก (Fork  Tail)   ลักษณะหางเป็นแผ่นแบนกว้าง   เว้าตรงกลางหรือเป็น  2  แฉก   มีสายพันธุ์ที่นิยม  2  สายพันธุ์   คือ
4.1.1 พันธุ์โคเมท (Comet)   เป็นปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิม   หรือต้นตระกูลของปลาทอง   ลักษณะลำตัวค่อนข้างแบนยาวคล้ายปลาไน   ลำตัวมักมีสีแดง   สีแดงสลับขาว   หรือสีทอง   ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม
.
    
                              ภาพที่ 5  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์โคเมท
                                            ที่มา : สุรศักดิ์ (2538)  
.
  4.1.2 พันธุ์ชูบุงกิง (Shubunkin)    ลักษณะคล้ายพันธุ์โคเมท   แต่จะมีจุดประที่ลำตัวหลายสี   เช่น  สีแดง สีขาว  สีม่วง  สีส้ม  และสีดำ   เกล็ดจะค่อนข้างใส   จัดเป็นปลาทองที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง   เนื่องจากมีสีเด่นหลายสี   สดใส   ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนและมีการตั้งชื่อไว้หลายชื่อ  เช่น   Speckled Goldfish ,  Harlequin  Goldfish ,  Vermilion  Goldfish  หรือ  Coronation  fish 
.
      
                               ภาพที่ 6  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ชูบุงกิง
                                             ที่มา : สุรศักดิ์ (2538)  
.
                 4.2 ปลาทองที่มีหางคู่   คือมีส่วนหางแยกออกเป็น  3 - 4  แฉก   มีทั้งที่มีครีบหลังตามปกติ   หรือบางชนิดไม่มีครีบหลัง   มีที่ได้รับความนิยมหลายสายพันธุ์  ดังนี้
4.2.1 พันธุ์ออแรนดา (Oranda) สมัยก่อนมักเรียกฮอลันดา   หรือฮอลันดาหัวแดง   ลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว   มีครีบครบทุกครีบ   หางยาว   และมีลักษณะเด่นคือมีวุ้นที่ส่วนหัว (Hood) คล้ายพันธุ์หัวสิงห์   แต่มักไม่ขยายใหญ่เท่าหัวสิงห์   สีของวุ้นมักออกเป็นสีเหลืองส้ม   เป็นปลาทองที่มีขนาดใหญ่   และมีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง   สีของลำตัวมักออกสีขาวเงิน    ชาวญี่ปุ่นเรียก   Oranda Shishigashira
.
ภาพที่ 7  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ออแรนดา
                                                    ที่มา : Free-pet-wallpapers.com (2012) (บน)   
.    
4.2.2 พันธุ์ริวกิ้น (Ryukin  or Veiltail ) ลักษณะเด่น คือ  เป็นพันธุ์ที่มีหางค่อนข้างยาวเป็นพวงสวยงามเป็นพิเศษ  คล้ายริบบิ้นหรือผ้าแพร ทำให้มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ คือ  Fringetail ,  Ribbontail ,  Lacetail ,   Muslintail  และ  Japanese  Fantail   ในขณะที่ว่ายน้ำครีบหางจะบานเป็นสง่า ลำตัวค่อนข้างกลมสั้น และมักมีสีแดงสลับขาว บางชนิดอาจมี 5 สี  เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก     
.
ภาพที่ 8  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ริวกิ้น  
                                                      ที่มา สุรศักดิ์ (2538) (ล่าง)
.
4.2.3 พันธุ์ตาโปน (Telescope-eyed  Goldfish) อาจเรียก  Pop-eye  Goldfish ชาวจีนนิยมเรียก  Dragon  Eyes  ชาวญี่ปุ่นเรียก  Aka Demekin ซึ่งแปลว่าตาโปนเช่นกัน ลักษณะเด่นของพันธุ์ คือ ลูกตาจะยื่นโปนออกมามากเหมือนท่อกล้องส่องทางไกล พันธุ์ตาโปนที่นิยมเลี้ยงมี  5 ชนิด คือ
             พันธุ์ตาโปนสีแดง (Red  Telescope-eyed  Goldfish) มีสีแดงตลอดตัว   ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น
.
 
ภาพที่ 9  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตาโปนสีแดงขาว
                                                ที่มา : สุรศักดิ์ (2538) (ซ้าย)
                                                         Pet Goldfish (2010) (ขวา)
               พันธุ์มัว (Moor)   หรือเล่ห์ (Black  Moor  or  Black  Telescope-eye  Goldfish)   เป็นพันธุ์ที่รู้จักดีในประเทศไทยในชื่อ เล่ห์ หรือ ลักเล่ห์  ลักษณะเด่น  คือ  ลำตัวมีสีดำสนิทตลอด  ตาจะไม่โปนมากนัก  ชาวญี่ปุ่นเรียกพันธุ์นี้ว่า  Kuro Demekin
.
          
ภาพที่ 10  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์เล่ห์
.
                  พันธุ์ตาโปนสามสี (Calico  Telescope-eye Goldfish)   รู้จักกันดีในประเทศไทยว่าลักเล่ห์ห้าสี เป็นพันธุ์ที่มีเกล็ดค่อนข้างบาง ลำตัวมีสีสันหลายสีสดเข้มและมักมีเพียง  3 สี แต่สีที่พบในพันธุ์นี้จะมี  5 สี คือ สีแดง สีขาว สีดำ สีน้ำตาลออกเหลือง และสีแดงออกม่วง  ชาวญี่ปุ่นเรียกพันธุ์นี้ว่า Sanshoku Demekin
.
ภาพที่ 11  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตาโปนสามสี
                                                   ที่มา : Pet Goldfish (2010)       
                   พันธุ์ตาลูกโป่ง (Bubble Eye Goldfish) ลักษณะเด่น คือ มีเบ้าตาพองออกคล้ายลูกโป่งทั้งสองข้าง เวลาว่ายน้ำมักจะแกว่งไปมา ลำตัวมักมีสีขาวหรือเหลืองแกมส้ม มีทั้งที่มีครีบหลังและไม่มีครีบหลัง  
.
ภาพที่ 12  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตาลูกโป่ง
                                                      ที่มา : นายเก๋า (2547)        
                    พันธุ์ตากลับ (Celestial Goldfish)  ลักษณะเด่น คือ ตาที่โปนออกมาจะหงายกลับขึ้นข้างบน ชาวจีนเรียกว่า Shotengan แปลว่าตามุ่งสวรรค์ หรือตาดูฟ้า ต่อมาชาวญี่ปุ่นนำไปเลี้ยงและพัฒนาได้หางสั้นกว่าเดิม เรียก Demeranchu  
.
ภาพที่ 13  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตากลับ
                                                       ที่มา : สุรศักดิ์ (2538)       
.
4.2.4 พันธุ์เกล็ดแก้ว (Pearl  Scale  Goldfish) ลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมคล้ายลูกปิงปอง ส่วนหัวเล็กมาก หางยาว ลักษณะเด่น คือ มีเกล็ดนูนขึ้นมาต่างกับเกล็ดธรรมดาทั่วไปอย่างชัดเจน สีของลำตัวมักมีสีขาว สีส้ม และสีทอง     
.
ภาพที่ 14  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้ว
                                                     ที่มา : Pirun.ku.ac.th  
.
4.2.5 พันธุ์หัวสิงห์ (Lionhead  Goldfish  or Ranchu) ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้คือ ไม่มีครีบหลัง   หางสั้นและเป็นครีบคู่  ที่สำคัญคือ ส่วนหัวจะมีก้อนวุ้นปกคลุมอยู่ ทำให้มีชื่อเรียกได้อีกหลายชื่อ เช่น  Hooded Goldfish ,  Buffalo-head  Goldfish ส่วนในญี่ปุ่นเรียก Ranchu  ในประเทศไทยเรียกกันโดยทั่วไปว่า หัวสิงห์”  เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน และนิยมจัดประกวดกันเป็นประจำ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นเจ้าพ่อของปลาทอง(King  of  The  Goldfish) มีอยู่หลายชนิดที่นิยมเลี้ยง ได้แก่
                  สิงห์ญี่ปุ่น เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวค่อนข้างสั้นและส่วนหลังโค้งมนสวยงาม สีของลำตัวเป็นสีส้มเข้มเหลือบทองต้องตา วุ้นที่ส่วนหัวมีลักษณะเล็กละเอียดขนาดไล่เลี่ยกันและค่อนข้างหนา ครีบหางสั้นและจะยกสูงขึ้นเกือบตั้งฉากกับลำตัว ครีบก้นเป็นครีบคู่มีขนาดเท่ากัน  
.
ภาพที่ 15  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์ญี่ปุ่น
.
                  สิงห์จีน เป็นพันธุ์ต้นตระกูลของหัวสิงห์ กำเนิดในจีน ลำตัวค่อนข้างยาว ส่วนหลังไม่โค้งมากนักหางค่อนข้างยาวอ่อนลู่ หัวค่อนข้างใหญ่และมีวุ้นดกหนากว่าสายพันธุ์อื่น และทางด้านท้ายของวุ้นไม่ขรุขระ   ทำให้มองเหมือนหัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว สีของลำตัวเป็นสีส้มแกมทองแต่ไม่สดมากนัก  
.
   
ภาพที่ 16  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์จีน
                                                       ที่มา : สุรศักดิ์ (2538) 
.
                   สิงห์หัวแดง สิงห์ตันโจ  ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น แต่สีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน ส่วนหัวและวุ้นจะมีสีแดง
 .
ภาพที่ 17  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์หัวแดง
.
                   สิงห์ตามิด  ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น แต่สีของลำตัวเป็นสีดำสนิทตลอดลำตัว แม้กระทั่งวุ้นก็เป็นสีดำ วุ้นค่อนข้างดกหนาจนปิดลูกตาแทบมองไม่เห็น 

            
ภาพที่ 18  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์ตามิด
                                                                       ที่มา : Fish949 (2011)      
                   สิงห์ห้าส ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์จีน แต่มีสีบนลำตัว 5 สี คือ สีดำ สีแดง สีขาว สีน้ำเงิน  และสีเหลือง เกล็ดค่อนข้างบางโปร่งใส
.
ภาพที่ 19  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์ห้าสี
                                                      ที่มา : Jesada (2004)
                   สิงห์เงิน  ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์หัวแดง มีสีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน แต่ส่วนหัวและวุ้นจะมีสีเงินด้วย
.
ภาพที่ 20  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์เงิน
.
                 สายพันธุ์อื่นๆ  ยังมีปลาทองอีกหลายสายพันธุ์ที่ผลิตขึ้นมาจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเน้นผลิตปลาทองเพื่อการส่งออก และค่อนข้างได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศ ทำให้มีสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ 
                การศึกษาความแตกต่างลักษณะเพศของปลาทองทำได้ไม่ยากนัก ผู้เลี้ยงปลาโดยทั่วไปจะสามารถแยกเพศปลาทองได้ ผู้ที่ต้องการดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาทอง หากเข้าใจวิธีการแยกเพศปลาทองเป็นอย่างดี ก็จะช่วยให้เลือกซื้อหรือจัดเตรียมปลาทองเพศผู้และเพศเมียตามจำนวนที่ต้องการได้
                ความแตกต่างลักษณะเพศของปลาทองนั้น ถ้าจะดูจากลักษณะภายนอกของลำตัวแล้วจะไม่พบความแตกต่างกัน   การแยกเพศจะทำได้ก็ต่อเมื่อปลาสมบูรณ์เพศ คือ เป็นปลาโตเต็มวัยแล้ว ซึ่งต้องเลี้ยงไว้ประมาณ 6 - 8 เดือน   เมื่อปลาสมบูรณ์เพศแล้วปลาเพศผู้จะเกิด ตุ่มสิว (Pearl Organ หรือ Nuptial Tubercles) ซึ่งเป็นตุ่มหรือจุดเล็กๆสีขาว เกิดขึ้นบริเวณก้านครีบอันแรกของครีบอก และบริเวณกระพุ้งแก้ม  ซึ่งถ้าสังเกตุดีๆจะพอเห็นได้และมักจะเกิดเด่นชัดเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ของปลาทอง แต่ในช่วงนอกฤดูกาลผสมพันธุ์  เช่นในฤดูหนาว หรือปลาไม่มีความพร้อมทางเพศ   ตุ่มสิวนี้จะมีขนาดเล็กสังเกตุได้ยาก แต่ก็สามารถแยกเพศได้โดยการใช้มือลูบเบาๆที่ครีบอกถ้าเป็นปลาทองเพศผู้จะรู้สึกสากมือเนื่องจากมีตุ่มสิวดังกล่าว แต่ถ้าเป็นปลาเพศเมียจะรู้สึกว่าครีบอกนั้นจะลื่นนอกจากนั้นถ้าปลามีความพร้อมในการผลมพันธุ์ คือปลาเพศเมียมีไข่แก่ และปลาเพศผู้มีน้ำเชื้อสมบูรณ์ ถ้าจับที่บริเวณท้องของเพศเมียจะรู้สึกว่าค่อนข้างนิ่ม และที่ช่องเพศจะขยายตัวนูนสูงขึ้น ส่วนปลาเพศผู้ถ้าลองรีดที่บริเวณท้องลงไปทางช่องเพศ จะเห็นว่ามีน้ำเชื้อซึ่งเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมาเล็กน้อยได้
.
          
 ภาพที่ 21  แสดงบริเวณก้านครีบอันแรกที่จะเกิดตุ่มสิวในปลาทองเพศผู้        
                                       ที่มา : Aquariacentral.com (2010)      
                  ปลาทองจัดว่าเป็นปลาที่ดำเนินการเพาะพันธุ์ได้อย่างง่ายๆ โดยวิธีการเพาะแบบช่วยธรรมชาติ   ปกติปลาทองจะมีการแพร่พันธุ์วางไข่ในตู้กระจกหรือบ่อที่ใช้เลี้ยงอยู่แล้ว ซึ่งมักจะไล่ผสมพันธุ์วางไข่ในตอนเช้าของวันถัดไปหลังจากที่ผู้เลี้ยงมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ให้ แต่ที่ผู้เลี้ยงไม่พบว่ามีลูกปลาทองเกิดขึ้นในตู้เลี้ยงปลา เนื่องจากว่าปลาทองเป็นปลาที่ไข่ทิ้งไม่มีการดูแลรักษาไข่ เมื่อวางไข่แล้วก็จะหวนกลับมากินไข่ของตัวเองอีกด้วย นอกจากนั้นปลาทองตัวอื่นๆหรือปลาชนิดอื่นที่เลี้ยงรวมอยู่ในตู้ด้วย ก็จะคอยเก็บกินไข่ที่ออกมาด้วย   กว่าที่ไข่ที่เหลืออยู่จะฟักตัวออกมา ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 3 วัน ไข่ก็จะถูกปลาทยอยเก็บกินไปเกือบหมด   ส่วนไข่ที่รอดจากถูกกินจนตัวอ่อนฟักตัวออกมา ตัวอ่อนที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ก็จะกลายเป็นอาหารที่ดีของปลาต่างๆอีก เพราะลูกปลาจะมีขนาดพอๆกับลูกน้ำ ทำให้ถูกจับกินไปจนหมดอย่างรวดเร็ว
                  ดังนั้นหากต้องการลูกปลาทองก็จำเป็นต้องมีการจัดการการเพาะให้ถูกต้อง จึงจะได้ลูกปลาจำนวนมากตามต้องการ  การเพาะปลาทองจะทำได้ดี คือ ปลาวางไข่ง่าย ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนกันยายน โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
6.1 การเตรียมบ่อเพาะ   บ่อที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์  มีขนาดประมาณ 1 ตารางเมตร  ขัดล้างให้สะอาดด้วยแปรงและสบู่แล้วฉีดน้ำล้างหลายๆครั้ง จากนั้นเตรียมน้ำใหม่ที่ระดับประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร นอกจากนั้นยังอาจใช้กะละมังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นบ่อเพาะปลาทองก็ได้
.
ภาพที่ 22  แสดงการใช้กะละมังเป็นบ่อเพาะปลาทอง
.
6.2 การเตรียมรัง   ปลาทองเป็นปลาที่มีไข่ประเภทไข่ติด พฤติกรรมการวางไข่นั้นปลาเพศผู้จะว่ายน้ำไล่ปลาเพศเมียไปเรื่อยๆ ปลาเพศเมียเมื่อพร้อมจะวางไข่จะว่ายน้ำเข้าหาพรรณไม้น้ำตามริมน้ำ แล้วปล่อยไข่ครั้งละ 10 - 20ฟอง ปลาเพศผู้ที่ว่ายน้ำตามมาก็จะปล่อยน้ำเชื้อตาม ไข่จะได้รับการผสมพร้อมกันนั้นก็เกิดสารเหนียวที่เปลือกไข่ทำให้ไข่เกาะติดอยู่ตามราก ลำต้น และใบของพรรณไม้น้ำ ดังนั้นการเตรียมรังในบ่อเพาะปลาทอง ควรเป็นรังที่ช่วยให้ไข่ติดได้ง่ายและมากที่สุด คือต้องมีลักษณะเป็นฝอยนิ่มและค่อนข้างยาว รังที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่รังที่ทำจากเชือกฟาง โดยนำเชือกฟางสีใดก็ได้มาผูกเป็นกระจุก(คล้ายกับพู่ที่เชียร์ลีดเดอร์ใช้มีความยาวประมาณ 20เซนติเมตร   แล้วฉีกให้เป็นฝอยโดยพยายามให้เป็นเส้นฝอยขนาดเล็กให้มากที่สุด จากนั้นนำไปจุ่มในน้ำเดือดเพื่อให้เกิดความนุ่ม แล้วทำกรอบไม้ (อาจใช้ท่อ เอสล่อน)ให้ลอยอยู่ผิวน้ำ ขนาดเล็กกว่าบ่อเพาะเล็กน้อยเพื่อให้กรอบลอยอยู่บนผิวน้ำในบ่อได้ดี นำรังมาผูกในกรอบไม้เพื่อให้รังลอยตัว และรังจะกระจายตัวกัน หากไม่ทำกรอบผูกรัง รังจะถูกแรงลมที่เกิดจากเครื่องแอร์ปั๊ม ทำให้รังลอยไปรวมเป็นกระจุกอยู่ริมบ่อ ปลาจะวางไข่ที่รังได้ยาก การทำให้รังกระจายตัวกัน ช่วยให้ปลาสามารถวางไข่โดยกระจายไข่ตามรังที่จัดไว้ทุกรังได้เป็นอย่างดี
.
ภาพที่ 23  แสดงลักษณะพู่ทำจากเชือกฟางและรากผักตบชวาที่นำมาใช้เป็นรังในบ่อเพาะปลาทอง
.
6.3 การเตรียมพ่อแม่พันธุ์  คือการเลี้ยงและคัดปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์จากปลาที่เลี้ยงไว้รวมกัน โดยจะต้องเน้นเป็นปลาที่มีไข่แก่และน้ำเชื้อดี การที่จะเลี้ยงปลาทองให้มีไข่แก่และน้ำเชื้อได้ดีนั้นเป็นเรื่องไม่ยาก จากที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงปลาที่มีคุณภาพน้ำดีกว่าการเลี้ยงปลาแบบอื่นๆ เนื่องจากมีระบบกรองน้ำที่ดี ในสภาพน้ำที่ค่อนข้างดีปลาจะใช้อาหารที่ได้รับไปสำหรับการเจริญเติบโต ส่วนการพัฒนาของระบบสืบพันธุ์จะเป็นไปอย่างช้าๆ เมื่อใดที่คุณภาพน้ำเริ่มมีการสะสมของสิ่งหมักหมมต่างๆมากขึ้น ปลาที่สมบูรณ์เพศแล้วจะเริ่มมีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์มากขึ้น เปรียบเทียบได้กับฤดูร้อนซึ่งน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติจะลดระดับลงเรื่อยๆน้ำจะมีการสะสมแร่ธาตุต่างๆมากขึ้น ปลาจะใช้อาหารที่ได้รับเพื่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการแพร่พันธุ์ในฤดูฝนที่จะมาถึง ดังนั้นการเลี้ยงปลาทองเพื่อให้ปลามีไข่แก่และน้ำเชื้อดีแทบทุกตัวพร้อมกัน จึงต้องอาศัยการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด คือ การปรับปรุงระบบเครื่องกรองน้ำ โดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องกรองน้ำแบบหม้อกรองในตู้ ซึ่งช่วยทำให้น้ำใสได้บ้างพอควรและเก็บตะกอนไว้ได้ด้วย ล้างหม้อกรองประมาณ 3 วัน ต่อครั้ง และงดการเปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ปลาหรือบ่อเลี้ยงปลาโดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องเติมน้ำเนื่องจากระดับน้ำลดลง ควรเติมในช่วงเช้า เพราะการเติมน้ำในตอนเย็นซึ่งอุณหภูมิเริ่มลดลง และปลาได้รับน้ำใหม่อาจมีผลกระตุ้นให้ปลาไข่แก่บางตัววางไข่ในเช้าวันถัดไปได้ พ่อแม่พันธุ์ปลาทองที่จะนำมาใช้เพาะพันธุ์ควรมีอายุประมาณ 10 เดือน นำมาเลี้ยงรวมกันเป็นเวลาประมาณ 30 - 50 วัน ปลาทองที่คัดมาเลี้ยงแทบทุกตัวจะมีไข่แก่และน้ำเชื้อสมบูรณ์เหมือนกันแทบทุกตัว ทำให้สะดวกที่จะคัดไปปล่อยลงบ่อเพาะ และควรคัดไปปล่อยเวลาประมาณ 16.00 .
                ข้อควรพิจารณาในการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง ควรหลีกเลี่ยงปลาในครอกเดียวกันเพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด
.
ภาพที่ 24  พ่อแม่พันธุ์ปลาทองในบ่อเลี้ยง  
.
6.4 จำนวนปลาและสัดส่วนเพศ  การปล่อยปลาลงบ่อเพาะแต่ละบ่อควรปล่อยปลาเพียงบ่อละ  1 คู่ หรือใช้ปลาเพศเมีย 1 ตัว กับปลาเพศผู้ 2 ตัว เนื่องจากการใช้ปลามากกว่า 1 คู่ นั้น ในขณะที่ปลาเพศเมียตัวที่พร้อมจะวางไข่ถูกปลาเพศผู้ว่ายน้ำไล่ไปนั้น จะถูกปลาตัวอื่นๆคอยรบกวนโดยว่ายน้ำติดตามกันไปหมดทุกตัว เพราะปลาเหล่านั้นต้องการตามไปกินไข่ของแม่ปลาที่จะปล่อยออกมา การปล่อยปลาหลายคู่จึงกลับกลายเป็นข้อเสีย ดังนั้นการปล่อยปลาเพียงบ่อละคู่จะทำให้ไข่มีอัตราการผสมค่อนข้างดี และได้จำนวนมาก  

 
ภาพที่ 25  ลักษณะของพ่อแม่ปลาทองที่คัดปล่อยลงบ่อเพาะ
.
6.5 การเพิ่มน้ำและลม  หากต้องการให้ปลาได้รับการกระตุ้นและเกิดการวางไข่อย่างแน่นอน ควรจะมีการให้ลมเพื่อให้น้ำเกิดการหมุนเวียนแรงพอสมควร นอกจากนั้นถ้าหากสามารถทำให้เกิดกระแสน้ำ หรือทำให้เกิดฝนเทียม ก็จะทำให้ปลาวางไข่ได้ง่ายขึ้น ฉนั้นบ่อเพาะที่ดีจะต้องมีระบบน้ำล้นที่ดีด้วย
6.6 การวางไข่ของปลา  ถ้าหากคัดปลาได้ดี คือ ปลามีไข่แก่และน้ำเชื้อดี ปลาจะผสมพันธุ์วางไข่ตอนรุ่งเช้าของวันถัดไป หากปลายังไม่วางไข่จะปล่อยพ่อแม่ปลาไว้อีก 1 คืน แต่ถ้าเช้าวันถัดไปปลาก็ยังไม่วางไข่  แสดงว่าผู้เพาะคัดปลาไม่ถูกต้อง คือปลาเพศเมียที่คัดมาเพาะมีรังไข่ยังไม่แก่จัดพอที่จะวางไข่ได้ จะต้องปล่อยพ่อแม่ปลาที่คัดมาเพาะกลับคืนลงบ่อเลี้ยง แต่ถ้าปลาวางไข่จะสังเกตได้ว่าน้ำในบ่อเพาะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป โดยมักจะเกิดเมือกเป็นฟองตามผิวน้ำและรัง เมื่อพิจารณาที่รังจะเห็นว่ามีไข่ปลาทอง มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆสีเหลืองอ่อนค่อนข้างใสเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร ติดอยู่ตามเส้นเชือกภายในรัง เม็ดไข่ที่ดูใสนี้แสดงว่าเป็นไข่ที่ได้รับการผสมหรือไข่ดี และจะมีเม็ดไข่ที่สีขุ่นขาวซึ่งเป็นไข่ที่ไม่ได้รับการผสมหรือเป็นไข่เสีย
.
ภาพที่ 26  แสดงลักษณะไข่ปลาทองที่ติดอยู่ที่รากผักตบชวา      
                                                          ไข่ดีจะใส ส่วนไข่เสียจะสีขุ่นขาว
                เมื่อประสบผลสำเร็จในการเพาะปลาทองหรือสามารถทำให้ปลาทองวางไข่ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการฟักไข่ ซึ่งอาจใช้บ่อเพาะเป็นบ่อฟักไข่ได้เลย โดยการช้อนเอาพ่อแม่ปลาออก จากนั้นเพิ่มระดับน้ำเป็น 30 - 40เซนติเมตร  เปิดแอร์ปั๊มเพื่อให้ออกซิเจนและเกิดการหมุนเวียนน้ำตลอดเวลา และถ้าสามารถเพิ่มน้ำใหม่ทำให้มีการระบายน้ำด้วย จะช่วยไล่ความคาวที่เกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาของไข่ออกไปเรื่อยๆ จะทำให้ไข่ปลาทองฟักตัวได้ดีไม่ค่อยมีการติดเชื้อ แต่ต้องใส่ผ้ากรองกันไว้ที่ทางออกของท่อน้ำล้น  เพื่อกันลูกปลาที่ฟักตัวออกจากไข่ไม่ให้ไหลไปตามน้ำ  แม่ปลา 1 ตัวจะสามารถวางไข่ได้ครั้งละ  1,000 - 3,000 ฟอง ไข่จะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 48 - 56 ชั่วโมง (2 - 3  วัน)  ลูกปลาที่ฟักตัวออกจากไข่แล้วมักจะเกาะอยู่ที่รัง  หรือว่ายน้ำออกไปเกาะอยู่ที่ผนังบ่อ  รอจนเช้าวันที่ 4 หลังจากที่ปลาวางไข่จึงค่อยๆเขย่ารังเพื่อไล่ลูกปลาออกจากรัง แล้วปลดรังออก
.
ภาพที่ 27  ลักษณะของลูกปลาทองที่ฟักออกจากไข่แต่ยังมีถุงอาหารอยู่  ยังไม่ว่ายน้ำจะเกาะอยู่ที่ผนัง 
                                                              
                บ่อที่จะใช้สำหรับอนุบาลลูกปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์ ขนาด 4 - 10 ตารางเมตร มีความลึกประมาณ40 - 50 เซนติเมตร  เป็นบ่อที่สามารถถ่ายเทน้ำได้อย่างดี โดยเฉพาะถ้าสามารถปรับระบบน้ำไหลได้จะทำให้ลูกปลามีความแข็งแรงมาก เจริญเติบโตรวดเร็วและมีอัตรารอดดี เพราะการระบายน้ำจะช่วยระบายของเสียหรือสิ่งขับถ่ายของลูกปลาออกไปได้เป็นอย่างดี ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกปลาเติบโตเร็วก็คือ การระบายน้ำและการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำทุกวัน 
                การเลี้ยงลูกปลาทองหรือการอนุบาลจำเป็นต้องอาศัยสังเกตุเป็นหลัก การจะกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนกระทำได้ยาก เริ่มจากลูกปลาที่ฟักออกจากไข่ ในช่วงแรกจะมีถุงอาหาร (Yolk Sac) ติดอยู่ที่หน้าท้อง ลูกปลาจะยังไม่กินอาหาร สังเกตุได้จากการที่ลูกปลาจะเกาะอยู่ที่รังหรือผนังบ่อ เมื่อลูกปลาใช้อาหารจากถุงอาหารหมดแล้วลูกปลาจึงจะว่ายน้ำตามแนวระดับไปเรื่อยๆเพื่อหาอาหารกิน ควรดำเนินการให้อาหารดังนี้
8.1 ช่วงแรก   เนื่องจากปลาทองเป็นปลาที่กินอาหารได้แทบทุกชนิด จัดว่าเป็นปลาที่กินอาหารได้ง่าย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้อาหารที่มีชีวิตในการอนุบาลลูกปลาทอง การอนุบาลลูกปลาทองเลือกใช้อาหารได้ดังนี้
               ไข่ต้ม  ใช้ไข่ไก่หรือไข่เป็ดต้มสุก แล้วเอาเฉพาะไข่แดงไปขยี้น้ำผ่านผ้าไนล่อนหรือกระชอน จะได้น้ำไข่แดงเหมือนน้ำตะกอน นำไปสาดให้ปลากิน ควรใช้ไข่แดงเลี้ยงลูกปลาเป็นเวลา 3 วัน ลูกปลาจะเคยชินกับการกินอาหารและกินอาหารเก่ง ขนาดของลูกปลาก็จะโตขึ้นอย่างเด่นชัด
.
ภาพที่ 28  ลักษณะของลูกปลาทองที่ยังไม่ได้กินอาหาร (ซ้าย)
                                               กับที่ได้กินไข่ต้มแล้วที่ส่วนท้องจะมีสีขาว (ขวา)  
.
ภาพที่ 29  แสดงการใช้ไข่แดง
ขยี้ผ่านผ้าขาวบางเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงลูกปลาทอง  
.
                 อาหารผง ใช้อาหารผงอนุบาลลูกปลาดุก ใช้ให้ต่อจากการใช้ไข่ต้มได้เลย โดยในช่วงแรกควรให้โดยโปรยลงบนผิวน้ำ อาหารจะค่อยๆจมตัวลง เลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 5 วัน  จากนั้นควรเปลี่ยนวิธีให้จากการโปรยอาหารลงผิวน้ำ เป็นนำอาหารผงมาคลุกน้ำพอหมาดๆ   อาหารพวกนี้จะมีคุณสมบัติในการปั้นก้อนได้ดี แล้วจึงนำไปให้ปลา ลูกปลาก็จะมาตอดกินอาหารได้เอง
                สำหรับในเรื่องของปริมาณอาหารที่จะให้ปลานั้น เนื่องจากลูกปลามีขนาดเล็กมากการกำหนดปริมาณอาหารเป็นจำนวนตายตัวนั้นค่อนข้างยาก เช่นการใช้ไข่แดง ปริมาณที่จะให้แต่ละมื้อจะใช้ประมาณเท่าเมล็ดถั่วแดงต่อลูกปลาที่เกิดจากแม่ปลา 1 แม่  ผู้เลี้ยงต้องอาศัยการสังเกตและการเอาใจใส่ค่อนข้างมาก การให้อาหารมากเกินไปจะทำให้น้ำเน่าเสีย ลูกปลาจะยิ่งเติบโตช้าและมักจะติดเชื้อเกิดโรคระบาดตายเกือบหมด แต่ถ้าน้อยเกินไปลูกปลาก็จะโตช้าและมักจะมีขนาดแตกต่างกันอย่างมาก โดยจะมีลูกปลาขนาดโตไม่กี่ตัว วิธีการกะปริมาณอาหารที่ดีคือ ผู้เลี้ยงจะต้องดูจากตัวลูกปลาภายหลังจากที่ให้อาหารไปแล้วประมาณ 15 - 20 นาที ใช้แก้วน้ำตักลูกปลาขึ้นมาดู ถ้าเป็นช่วงที่ให้ไข่แดงเป็นอาหาร จะเห็นว่าที่บริเวณท้องของลูกปลาจะมีสีขาว ถ้าเป็นอาหารผงท้องจะเป็นแนวดำดังนั้นถ้าเห็นว่าลูกปลาทุกตัวมีอาหารที่บริเวณท้องเป็นแนวยาวตลอด ก็แสดงว่าอาหารพอ แต่ถ้าเห็นว่าลูกปลาบางส่วนมีอาหารที่ท้องอยู่น้อยก็แสดงว่าอาหารไม่เพียงพอ ควรให้อาหารเพิ่มอีก
                หมายเหตุ ช่วงนี้ควรให้อาหารวันละ 3 ครั้ง  คือ เช้า กลางวัน และเย็น
8.2 ช่วงหลัง   ถึงแม้ลูกปลาจะกินอาหารผงได้ดี แต่อาหารผงก็มีข้อเสียที่มักมีการแตกตัวและกระจายตัวได้ง่ายซึ่งเป็นบ่อเกิดของน้ำเสีย ดังนั้นเมื่ออนุบาลลูกปลาในช่วงแรกด้วยไข่และอาหารผง เป็นเวลาประมาณ  15 วัน   ก็ควรจะเปลี่ยนมาเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำโดยใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกปลาดุกเล็กระยะแรก ให้ลูกปลาได้เลยจะเห็นว่าอาหารจะลอยตัวอยู่ผิวน้ำ จากนั้นประมาณ 15 - 20 นาที อาหารจะพองขยายตัวขึ้นและนิ่ม ในวันแรกลูกปลาจะยังไม่เคยชินกับอาหารลอยน้ำ ฉนั้นให้ใช้นิ้วบีบอาหารที่ลอยอยู่บางส่วนให้จมตัวลง และมีอาหารลอยน้ำเหลืออยู่บ้าง ทำเช่นนี้ประมาณ  3 วัน ลูกปลาจะเคยชินกับการกินอาหารเม็ดลอยน้ำได้ดี     
            ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญ  คือ การทำความสะอาดบ่ออนุบาล โดยเฉพาะในการอนุบาลช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไข่แดงหรืออาหารผงให้เป็นอาหารลูกปลา ทั้งไข่แดงและอาหารผงจะเหลือตกตะกอนเป็นเมือกอยู่ที่พื้นก้นบ่อเป็นประจำทุกวัน ดังนั้นหลังจากให้อาหารเช้าแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง ควรทำความสะอาดผนังและพื้นก้นบ่อโดยใช้ฟองน้ำค่อยๆลูบไปตามผนังและพื้นก้นบ่อให้ทั่ว ถ้าเป็นบ่อที่มีระบบกรองที่ดี ตะกอนเมือกที่ถูกขัดออกมาก็จะถูกขจัดออกได้โดยง่าย  
.
ภาพที่ 30  แสดงลักษณะบ่อดินขนาด 400- 500 ตารางเมตร ที่ใช้อนุบาลลูกปลาทอง
                                                                                                                               
                    เป็นการเลี้ยงเพื่อให้ปลาทองมีขนาดใหญ่เหมาะสมที่จะส่งตลาดต่อไป บ่อเลี้ยงปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์ มีขนาด 2 - 4 ตารางเมตร และควรมีจำนวนหลายบ่อ หากต้องการให้ ปลาเจริญเติบโตเร็วจะต้องจำกัดจำนวนปลาที่ปล่อยเลี้ยง โดยปล่อยในอัตรา 50 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ควรทยอยคัดปลาจากบ่ออนุบาลมาปล่อยลงบ่อเลี้ยง จากนั้นเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดประมาณ 40 - 60 วันปลาจะเติบโตจนสามารถส่งจำหน่ายได้ เมื่อส่งปลาออกจำหน่ายแล้วก็ทยอยคัดปลาจากบ่ออนุบาลมาปล่อยเลี้ยงอีกต่อไป สำหรับลูกปลาที่เหลืออยู่ในบ่ออนุบาลซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีการให้อาหารดีและมีการถ่ายน้ำสม่ำเสมอ ลูกปลาก็จะเจริญเติบโตขึ้นไม่มากนักเนื่องจากจำนวนปลาเป็นข้อจำกัด แต่เมื่อถูกกระจายออกไปยังบ่อเลี้ยงก็จะสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้
            ปัจจุบันมีการอนุบาลและเลี้ยงปลาทองในบ่อดิน  โดยใช้บ่อขนาด 100 - 200 ตารางเมตร
.
ตัวอย่างฟาร์ปลาทองที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มีบ่อซิเมนต์ 487 บ่อ ในพื้นที่ 2 ไร่
ปลาสิงห์ญี่ปุ่นเกรดเอ รอจำหน่ายอุปกรณ์ในการล้างบ่อ
เติมด่างทับทิมฆ่าเชื้อป้องกันโรคบ่อดินสำหรับอนุบาลลูกปลา
 ภาพที่ 31  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทองที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
.
 ภาพที่ 32  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทองในประเทศจีน มีการจัดทัวร์ชมฟาร์ม 
                                           ที่มา : Vermilliongoldfishclub.com (2006)                          
 . 
 
 ภาพที่ 33  ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาทอง( Siamaquarium )ในประเทศไทย 
                                             ที่มา : Siamaquarium.com (2010)