วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคของปลาทองและวิธีการรักษา


โรคของปลาทองและวิธีการรักษา
:?:โรคหนอนสมอ (Anchor worms)
อาการ : หนอนสมอจะมีขนาดความยาว 0.6-1 เซนติเมตร หนอนสมอจะใช้ส่วนหัวฝัง
เข้าไปในตัวปลาและยื่นส่วนหางออกมาทำให้เห็นเหมือนมีเส้นด้ายเกาะติดอยู่ที่ตัวปลา (ภาพที่ 46)
ถ้าดึงออก ส่วนที่เป็นสมอมักจะขาดติดอยู่ใต้ผิวหนังทำให้เกิดแผล เป็นทางให้แบคทีเรียเข้าสู่ตัวปลา
ได้ ปลาที่พบหนอนสมอจะมีอาการซึมไม่กินอาหาร ว่ายถูตัวกับขอบตู้หรือบ่อ และมีรอยแดงช้ำเป็นจ้ำ
ตามตัว เนื่องจากปลาระคายเคืองเป็นอย่างมาก จะเอาตัวถูข้างบ่อ
การรักษา : แช่ปลาในสารละลาย ดิพเทอเร็กซ์ 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ตลอดไป และแช่
ซ้ำทุก 7 วัน รวมระยะเวลารักษา 4 ครั้งหรือเวลารักษา 1 เดือน
:?:โรคเห็บ (Fish lice) Argulus sp.
อาการ : เห็บมีลักษณะกลมแบบคล้ายรูปจาน ขนาดยาว 3 - 5 มิลลิเมตร มีขา 8 ขา
แต่ละขายังแยกเป็นขาละ 2 คู่ (ภาพที่ 47) ปลาที่มีเห็บเกาะอยู่จะว่ายถูตัวกับข้างบ่อ เพื่อให้เห็บหลุด
เกล็ดปลาจะหลุดเป็นแผล ซึ่งทำความเสียหายมากเนื่องจากปรสิตนี้สามารถขยายพันธุ์เร็ว
การรักษา : แช่ปลาที่มีเห็บในสารละลาย ดิพเทอเร็กซ์ในอัตราส่วน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร
แช่ตลอดไปและแช่ซ้ำทุก 7 วันต่อครั้ง รวมระยะเวลารักษา 4 ครั้ง หรือเวลารักษา 1 เดือน
:?:โรคจุดขาวหรืออิ๊ค (White spot "Ich")
อาการ : เกิดจากโปรโตซัวขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเป็นรูปไข่ Ichthyophthirius multifilis
โดยจะฝังอยู่ที่ผิวและเหงือกของปลาปลาจะสร้างเซลล์ผิวหนังชั้นนอกเพิ่มขึ้นจนหุ้มปรสิตหมด ทำให้
บริเวณนั้นกลายเป็นจุดขาว ๆ ระคายเคือง ผิวหนังมีอาการคันปรสิตจะขยายพันธุ์เจริญเต็มที่ หลุดออก
จากตัวปลา ว่ายน้ำเป็นอิสระส่วนหนึ่งจะสร้างเกราะหุ้มตัวให้ตัวอ่อน เมื่อสภาพเหมาะสมเกราะก็จะแตก
ออก ตัวอ่อนว่ายเข้าติดตัวปลาต่อไป ถ้าเกาะไม่ได้ตัวอ่อนจะตายภายใน 4 วัน โรคจะลามภายใน 7-8
ชั่วโมงเท่านั้น มักเกิดช่วงหน้าฝน เมื่อปลากระทบน้ำฝนหรือหนาวเย็นจัด ปลาจะมีอาการเซื่องซึม ครีบ
เปื่อย ไม่ค่อยเคลื่อนไหว และว่ายน้ำถูกับข้างบ่อ
การรักษา : ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ตลอดไป และแช่ซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกัน
ครั้งละ 5-7 วัน : มาลาไคท์กรีนร่วมกับฟอร์มาลิน อัตรา 4 ซีซี กับ 1 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

:?:โรคเชื้อรา (Fungus)
อาการ : พบบริเวณผิวหนัง ครีบ บริเวณมีบาดแผล และในไข่ปลาที่ไม่ได้รับการผสมลักษณะเป็นเส้นใยอยู่
เป็นกลุ่ม ปลาที่ได้รับเชื้อ Saprolegnia sp. จะมีปุยขาวคล้ายปุยสำลีเกาะติดตามลำตัวที่ได้รับความ
บอบช้ำหรือมีบาดแผลตามตัว ราจะเข้าเกาะทันทีราเจริญที่อุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส และมีวงจร
ชีวิต 1-2 วัน เท่านั้น
การรักษา : แช่ปลาในน้ำที่ผสมเกลือ 3-5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นานตลอดไป หรือใช้มาลาไคท์กรีน
0.1-0.2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือ 2 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่จนกว่าปลาจะหายป่วย ซึ่งอาจต้องแช่ซ้ำ
2-3 ครั้ง
:?:โรคครีบและหางเปื่อย
อาการ : ปลาจะมีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยกินอาหารและมักจะว่ายน้ำสั่นกระตุกเป็นพัก ๆ
ครีบและหางจะขาดแหว่งคล้ายถูกกัด บริเวณปลายครีบและหางจะมีสีขาวขุ่นหรือแดง และค่อย ๆ
ลุกลามไปเรื่อย ๆ จนครีบและหางของปลาหดหายไป ซึ่งจะทำให้ปลาตายในที่สุด โรคนี้เกิดจากปลา
ได้รับเชื้อโปรโตซัว และมีการติดเชื้อแบคทีเรียรวมด้วย
การรักษา : แช่ปลาป่วยด้วยฟอร์มาลิน 25 - 45 ซีซี/ น้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 2 วัน
: ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโซน ในอัตราส่วน 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000ลิตรแช่ปลานาน 2-3 วัน

:?:โรคเหงือกอักเสบหรือเหงือกเน่า (Gill rot)
อาการ : เหงือกปลาจะบวมแดง เกิดการเน่าและแหว่งหายไป (ภาพที่ 48) ปลาหายใจถี่
ผิดปกติ และขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเสมอ ๆ หรือว่ายไปอยู่ที่ท่อออกซิเจน
การรักษา : ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยขึ้น และให้ออกซิเจน หรือใช้ด่างทับทิม 3-4 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร
แช่ตลอดไป
:?:โรคเวลเว็ทหรือโอโอดิเนียม (Velvet disease หรือ Oodinium disease)
อาการ : เป็นโรคที่เกิดจากปรสิต (Oodinium sp.) มีสีน้ำตาลคล้ายสนิมเกาะตามลำตัว
เหงือก (ภาพที่ 49) ถ้ามีเป็นจำนวนมากจะทำให้ปลาว่ายน้ำทุรนทุราย เนื่องจากหายใจไม่ออก
การรักษา : แช่ปลาในน้ำเกลืออัตราส่วน เกลือ 1 กิโลกรัมในน้ำ 100 ลิตร แช่จนปลาเริ่มว่ายน้ำ
กระสับกระส่ายจึงจับปลาออก และอาจต้องทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง โดยเว้นระยะ 2-3 วัน
:?:โรคท้องบวม (Abdominal dropsy)
อาการ : เป็นโรคที่ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรีย ปลาจะมีอาการเซื่องซึม ไม่เคลื่อนไหว
อออยู่ใต้ผิวน้ำหรือจมก้นบ่อ ปลาไม่ค่อยกินอาหารในแบบเฉียบพลัน ส่วนท้องจะบวมมาก (ภาพที่ 50)
มีน้ำสีแดงออกมาจากช่องท้อง และอาจเกิดเกล็ดตั้งขึ้น ส่วนแบบเรื้อรัง ผิวหนังของปลาจะเป็นรอยช้ำ
ตกเลือด
การรักษา : แช่ปลาในยาปฏิชีวนะออกซี่เตตร้าซัยคลิน หรือเตตร้าซัยคลิน ในอัตราส่วน 10-20 มิลลิกรัม
ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 2-3 วัน จึงถ่ายน้ำใหม่แล้วแช่ยาซ้ำอีก
: ไม่ควรเลี้ยงปลาในปริมาณที่แน่นจนเกินไปและควรให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม
:?:การเกิดฟองอากาศ (Gas bubble disease)
อาการ : ส่วนมากจะเกิดกับลูกปลาที่เลี้ยงในบ่อที่มีแสงแดดจัด และมีสาหร่ายในน้ำ
ปริมาณสูง (สังเกตจากน้ำในบ่อจะมีสีเขียวมาก) ซึ่งสาหร่ายจะทำให้เกิดการสังเคราะห์แสง และเกิด
ก๊าซออกซิเจนมากเกินไป ส่วนในตอนเย็นออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้ปลาปรับตัวไม่ทัน เห็น
เป็นฟองอากาศในตัวปลาโดยเฉพาะลูกปลา
การรักษา : ควรจะหาที่บังแดด โดยใช้ตาข่ายบังแสงให้มีแสงผ่านได้ 40-60%
:?:โรคเสียการทรงตัว (Swim bladder disease)
อาการ : ปลาจะว่ายน้ำหมุนควงตีลังกา เสียการทรงตัว ตกเลือดตามตัวและซอกเกล็ด จะ
เกิดกับปลาตั้งแต่วัยอ่อนถึงตัวเต็มวัย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของถุงลมระบบแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติ
สาเหตุการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด
การรักษา : ไม่พบวิธีการรักษาที่ได้ผล ส่วนมากถ้าพบปลาป่วย จะนำปลาไปเลี้ยงในที่แคบ ๆ เพิ่มอุณหภูมิ
และความเค็ม โรคเสียการทรงตัวบางครั้งไม่ได้ขึ้นกับกระเพาะลมอย่างเดียวอาจเกิดจากการทำงานของ
ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ทำให้เกิดก๊าซมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น