มีการเปรียบเปรยกันว่า ปลาทองนั้นมีลีลาในการแหวกว่ายน้ำพลิ้วไหวดั่งชายกิโมโนของสาวญี่ปุ่นยาม โบกสะพัด ซึ่งมีความหมายว่าในส่วนของช่วงโคนหางหรือที่เรียกว่าตะโพกของปลาทองนั้นใน ตอนที่ว่ายน้ำนั้นดูสวยงาม ดูปราดเปรียวและมีชีวิตชีวา หลายคนยังไม่ทราบว่าชาติแรกที่ทำการเลี้ยงปลาทองและเพาะผสมพันธุ์คือ ชาวจีน เมื่อช่วงระหว่างปี พ.ศ.1704-2093 ซึ่งนิยมเลี้ยงในหมู่ของขุนนางในราชสำนัก
คุณสมเกียรติ นาคโคตร ชาวจังหวัดนนทบุรี มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลาทองมานานได้เล่าถึงการเลี้ยงปลาทองในบ้านเราว่า ปลาทองที่นิยมเลี้ยงจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ที่ได้ฉายาว่า ราชาแห่งปลาทอง ลักษณะเด่นตรงบริเวณหัวจะมีก้อนเนื้อหุ้มอยู่คล้ายกับสวมหัวโขน ในขณะที่อีกสายพันธุ์หนึ่งคือปลาทองพันธุ์ออเรนดา ซึ่งมีลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว ครีบหางอ่อนช้อยเป็นพวง
คุณสมเกียรติได้มีคำแนะนำสำหรับมือใหม่ที่เริ่มเลี้ยงปลาทองที่ถูกต้องและ ให้ปลาทองมีสุขภาพที่แข็งแรง มีสีสันสดใส ประการแรกจะดูที่สถานที่เลี้ยงและภาชนะที่ใช้เลี้ยง ซึ่งโดยทั่วไปภาชนะที่นิยมเลี้ยงจะเป็นอ่างซีเมนต์และตู้กระจกสี่เหลี่ยม ถ้าเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดของตู้กระจกที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ซึ่งจะใช้เลี้ยงปลาทองขนาดกลางได้ประมาณ 12 ตัว เพื่อให้มีที่ว่างมากพอที่จะตกแต่งพันธุ์ไม้และติดตั้งปั๊มอากาศ ส่วนการเลี้ยงปลาทองในอ่างซีเมนต์ซึ่งเลี้ยงอยู่นอกบ้านจะต้องคำนึงถึงแสง สว่างจะต้องเป็นสถานที่ไม่อับแสง ถ้าแสงมากเกินไปควรใช้ตาข่ายพรางแสงประมาณ 60% ปิดปากบ่อสภาพของบ่อเลี้ยงควรสร้างให้ลาดเอียงเพื่อสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำในแต่ละครั้ง ศัตรูของปลาที่สำคัญคือ แมวและนก เป็นต้น
ส่วนการให้อาหารแก่ปลาทองแนะนำว่าให้ อาหารสำเร็จรูปวันละ 1-2 ครั้ง อาหารเสริมจะให้ลูกน้ำและหนอนแดง ในการดูความอ้วนและความแข็งแรงของตัวปลาจะต้องมองที่ความกว้างของลำตัวและจะ ต้องสังเกตโคนหางร่วมกัน ลักษณะปลาที่ตัวใหญ่หรืออ้วนนั้นให้สังเกตบริเวณโคนหางจะใหญ่แข็งแรงและมี ความสมดุลกับตัวปลาและเมื่อมองจากมุมด้านบนสังเกตจากความกว้างของลำตัวจะ ต้อง มีความอ้วนหนาและบึกบึนมีโคนหางที่ใหญ่แข็งแรงนอกจากนั้นจะต้องดูการเรียงแถวของเกล็ด ควรจะมีการเรียงเป็นแนวเดียวกัน ไม่กระจัดกระจายออกจากแถวเมื่อมองดูแล้วมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเนียนตา สีบนตัวปลาจะต้องมีสีสดเข้มมองดูแล้วสะดุดตาไม่ว่าลำตัวจะมีสีแดงหรือสีขาว
ความสำเร็จของการเลี้ยงปลาทองจะดูได้จากลักษณะโดยรวมของปลาทั้งส่วนหัว, ลำตัว และหาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น