วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคปลาทองที่เกิดจากพยาธิ


โรคที่เกิดจากพยาธิต่าง ๆ  ทั้งภายนอก และภายใน ได้แก่
                  เห็บปลา (argulus) มักจะเป็นเห็บที่ติดมากับอาหารสด เช่น ไรน้ำ หรือมากับปลาใหม่ที่เพิ่งเอาเข้ามา เห็บปลามีขนาดยาวได้ประมาณ  5 มิลลิเมตร เกาะติดปลาโดยใช้ปากขอ 2 อัน ซึ่งใช้ดูดเลือดปลา ส่วนที่เป็นหนามบริเวณหัวของเห็บสามารถสร้างพิษ และนำโรคต่าง ๆ ได้ เห็บทำให้เกิดการระคายเคืองกับปลามาก
              การรักษา อาจใช้ปากคีบคีบเห็บทีละตัว แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสมเมื่อใช้กับปลาที่มีขนาดเล็ก และมีจำนวนมาก ดังนั้น อาจใช้วิธีจุ่มด่างทับทิมความเข้มข้น 10 ppm เป็นเวลา 10-30 นาที หรือแช่ตลอดด้วยความเข้มข้น 2 ppm ก็ได้ นอกจากนั้น  สารฆ่าแมลงบางชนิดก็เป็นที่นิยมใช้ ได้แก่ diptrex  เข้มข้น 0.3 ppm หรือ lindane เข้มข้น0.01 ppm เป็นต้น
                  หนอนสมอ (anchor worm) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lernaea cyprinicea พยาธิตัวนี้ะฝังส่วนที่เป็นขอคล้ายสมอลงไปใต้ผิว หนอนสมออาจยาวถึง 2 เซนติเมตร และสามารถออกลูกซึ่งว่ายอยู่ในน้ำก่อนที่ไปเกาะกับปลาได้ หนอนสมอเจาะเข้าไปในกล้ามเนื้อ และพัฒนาขึ้นเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่โผล่ออกมา หลังจากปล่อยไข่แล้ว หนอนสมอจะตายลง รูที่เหลืออยู่ทำให้เป็นแผลน่าเกลียด และติดเชื้อได้ง่าย
                  ปลิงใส (flukes) ปลิงใสมีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และสามารถติดต่อได้ง่าย ปลิงใสที่พบทั่วไป ได้แก่ Gyrodactylus,  Dactylogyrus,  Neodactylogyrus  และ  Monocoelium  ส่วนมากปลิงติดอยู่บริเวณเหงือก และผิวหนัง  เมื่อส่องกล้องดูเห็นจุดสีดำคล้ายตาบริเวณหัว  ปลิงเหล่านี้สามารถทำลายเซลล์เหงือกได้อย่างมากจนทำให้ปลาตายได้ อาการที่พบคือ ตัวซีด ครีบ และหางตกลง  หายใจเร็ว และมีอาการระคายเคือง  รวมทั้งอาจมีอาการขาดอาหารด้วย
              การรักษา อาจทำได้โดยแช่ด่างทับทิมหรือฟอร์มาลิน 2 มิลลิลิตรต่อน้ำ 10 ลิตร เป็นเวลา 45  นาทีก็น่าจะได้ผลดี นอกจากนี้การแช่เกลือ 0.5-1.0  เปอร์เซ็นต์
              วิธีป้องกันการติดโรคปลิงใสคือ ต้องระวังตรวจตราปลาใหม่ที่เข้ามาเสมอ  เพื่อไม่ให้นำโรคเข้ามารวมทั้งป้องกันไม่ให้มีหอยทากซึ่งเป็นพาหะของโรคด้วย
      พยาธิเส้นด้าย (Nematodes; Threadwormมักพบในลำไส้ และอาจห้อยมาจากทวารหนัก ความยาวของพยาธิอาจยาวถึง 2 เซนติเมตร ซึ่งพบไม่บ่อยนัก พยาธิเหล่านี้ทำให้ปลาผอม ขาดอาหารอย่างรุนแรง ถ้าเป็นไปได้ควรทำลายเสีย แต่ถ้ารักษาควรใช้ยาถ่ายพยาธิ เช่น ปิปาราซินผสมอาหารหรือแช่ไว้ในตู้ หรือใช้ thaiabendazole  ผสมอาหารก็ได้ นอกจากนี้ควรตรวจดูให้ดีว่าปลาอื่น ๆ เป็นตัวเก็บเชื้อหรือไม่ เพื่อไม่ให้ติดเชื้อซ้ำเมื่อรักษาหายแล้ว
                  พยาธิตัวแบน (tapeworm) พบไม่มากในปลา แต่เคยมีรายงานว่าพบในลำไส้ปลาที่มีพยาธิ ซึ่งยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร พยาธิชนิดนี้ทำให้ปลาเกิดอาการขาดอาหารเช่นเดียวกับพยาธิเส้นด้าย และมีโลหิตจางร่วมด้วย โรคนี้อาจใช้ยาถ่ายพยาธิทั่วไปช่วยได้ แต่ก็โชคดีที่ไม่ค่อยพบบ่อยนัก
                  เห็นได้ว่าโรคของปลาสวยงามนั้นมีอยู่หลายชนิด  แต่ละชนิดสามารถทำความเสียหายให้ปลาในระดับต่างๆกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงควรคำนึงถึง คือ ต้องวินิจฉัยให้ดีว่าปลาเป็นโรคอะไร และรักษาด้วยยาอะไร ให้ปริมาณเท่าใด  กี่วัน มิฉะนั้นทำให้มีปัญหาการดื้อยาตามมาได้  “ควรปรึกษาสัตวแพทย์เมื่อมีสัตว์ป่วย” เพื่อที่จะได้หาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมจริงจังต่อไป
โรคที่เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหาร
                  1 ขาดธาตุไอโอดีน มีอาการต่อมไทรอยด์บวม สาเหตุอาจจะเกิดจากการขาดธาตุอาหารไอโอดีนในอาหารหรืออาหารที่มีสาร goitrogenic  สูง ซึ่งพบในวัตถุดิบอาหารที่เรียกว่า repeseed  หรือกากองุ่นหรือในน้ำมีสารดังกล่าวสูง
                  2 ขาดกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่  linolenic หรือ linoleic เนื่องจากปลาไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ อาการที่พบปลาจะมีสีซีด ครีบเปื่อย
                  3 ขาดวิตามินซี วิตามินซีมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เนื่องจากสัตว์น้ำไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ  นอกจากนั้นยังสลายได้เร็ว และเปลี่ยนรูปได้ง่าย  อาการที่พบ  แผลแห้งช้า  ตกเลือด  กระดูกโค้งงอ
              4 ขาดวิตามินอี อาการของการขาดวิตามินอี  ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจลีบ และกระดูกงอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น