ระบบกรองน้ำและอุปกรณ์เพิ่มอากาศ
แน่นอนครับ ปลาเป็นสิ่งมีชีวิต และสิ่งมีชีวิตทุกอย่างต้องมีการกินอาหารและการขับถ่ายของเสีย ซึ่งส่งผลทำให้น้ำในตู้ลดคุณภาพลงไปเรื่อย ๆ ช้าเร็วขึ้นอยู่กับขนาดของตู้ ปริมาตรบรรจุน้ำและจำนวนปลาที่เลี้ยง เมื่อน้ำมีคุณภาพแย่ลงจนถึงจุดวิกฤติ ปลาจะเริ่มออกอาการทุรนทุรายหรือซึมเศร้า ติดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย และตายหลังจากนั้นไม่นาน เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำในตู้ปลาให้ดีในระยะเวลายาวนานเราจึงจำเป็นต้องมีระบบกรองน้ำมาช่วย
ระบบกรอง (filter system) คือการจัดการให้น้ำในตู้ปลามีการไหลเวียน เพิ่มออกซิเจน ทำให้น้ำใสสะอาดและมีคุณภาพดีตลอดเวลา วิธีง่ายสุดในการสร้างระบบนี้คือการใช้เครื่องกรองน้ำที่มีขายทั่วไป
เครื่องกรองน้ำมีหลายประเภทหลายแบบ เช่น แผ่นกรองใต้พื้นกรวด (under gravel filter), กรองฟองน้ำ (sponge filter), กรองมุมตู้ (corner bubble filter), กรองนอกตู้ (external filter), กรองในตู้ (internal filter) ฯลฯ แต่ละแบบมีวิธีการทำงานแตกต่างกัน ทว่าจุดประสงค์หลักมีเพียงหนึ่งเดียวคือรักษาความสะอาดและสร้างคุณภาพน้ำที่ดีให้กับตู้ปลาอย่างที่กล่าวไปแล้วนั่นเอง ลองมาดูกันว่ากรองแต่ละอย่างมีลักษณะและวิธีการใช้งานอย่างไร
แผ่นกรองใต้พื้นกรวด (under gravel filter)
มีลักษณะเป็นแผ่นตะแกรงพลาสติกมีช่องฉลุเอาไว้เต็มและมีท่อโผล่ที่มุมข้างใดข้างหนึ่ง เวลาใช้งานก็เอามาปูกับพื้นตู้ก่อนแล้วค่อยเทกรวดทับลงไป เอาสายออกซิเจนที่ต่อกับปั๊มลมมาเสียบที่ท่อ การทำงานของมันจะใช้แรงดันจากปั๊มลมผลักอากาศลงไปตามสายแล้วย้อนกลับออกมาบนปากท่อด้านบน น้ำจะไหลแทนที่กันตลอดเวลาทำให้เกิดการหมุนเวียนผ่านแผ่นตะแกรงด้านล่าง ซึ่งชั้นกรวดที่เราปูทับมันอีกทีจะเป็นตัวดูดซับเอาฝุ่นตะกอนของเสียเอาไว้นั่นเอง แถมนอกจากนั้นยังเป็นการสร้างแบคทีเรียที่ต้องการออกซิเจนมาสะสมตัวเอาไว้เพื่อย่อยสลายกันเองทำให้น้ำสะอาดขึ้นอีกด้วย กรองแบบนี้เป็นกรองพื้นฐานที่เวิร์คและประหยัดสตางค์สุด ๆ เหมาะกับตู้ปลาขนาดเล็กถึงปานกลางที่เลี้ยงปลาไม่หนาแน่นมากนัก
กรองฟองน้ำ (sponge filter)
นี่ก็เป็นอีกตัวเลือกที่เข้าท่า ลักษณะรูปร่างของมันเป็นก้อนกลมทรงกระบอก มีท่อเสียบอยู่ตรงกลาง วิธีการทำงานคล้ายกับกรองใต้กรวดเพียงแต่เปลี่ยนจากการใช้กรวดเป็นตัวซับของเสียมาเป็นตัวฟองน้ำที่หุ้มล้อมรอบอยู่นั่นเอง กรองฟองน้ำเหมาะกับตู้ขนาดเล็กที่เลี้ยงปลาไม่หนาแน่นมากเช่นกัน
กรองมุมตู้ (corner bubble filter)
โดยทั่วไปแล้วนักเลี้ยงปลามือใหม่มักเลือกใช้กรองประเภทนี้ เพราะนอกจากราคาถูกแล้วยังติดตั้งง่าย ถอดออกมาล้างก็ง่าย แถมยังมีรูปร่างสีสันสวยงามชวนซื้อ หลักการทำงานของกรองมุมตู้ (หรือบางท่านก็เรียกว่ากรองกระป๋อง) คือใช้แรงดันจากเครื่องปั๊มลมผลักน้ำให้เกิดการไหลเวียนผ่านใยสังเคราะห์ (ใยแก้ว) ที่ใส่ไว้ตรงกลาง ตัวใยสังเคราะห์จะดักจับเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ เอาไว้ พอเห็นว่าเน่าเอาการแล้วเราค่อยเอาทิ้งแล้วเปลี่ยนใยสังเคราะห์ชิ้นใหม่เข้าไปแทน กรองชนิดนี้เหมาะกับตู้เล็กเช่นเดียวกัน
กรองในตู้ (internal filter)
หรือบางทีก็เรียกว่ากรองกั้นช่อง เพราะเป็นการกั้นเอาตู้ปลาส่วนหนึ่งหรือมุมหนึ่งมาสร้างเป็นระบบกรองน้ำ โดยใช้กระจกกั้นแบ่งเป็นชั้น ๆ ตามแนวตั้ง แต่ละชั้นบรรจุวัสดุกรองประเภทต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ผิวน้ำจะไหลผ่านซี่พลาสติกที่บากไว้ด้านบนของกรองเข้ามา ตกผ่านชั้นวัสดุกรองจนถึงห้องล่างสุดปั๊มน้ำจะทำหน้าที่ผลักน้ำที่กรองแล้วกลับเข้าตู้ ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูง เหมาะกับตู้ปลาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
กรองนอกตู้ (external filter)
สำหรับคนที่ชอบเลี้ยงพรรณไม้น้ำมักจะชอบกรองชนิดนี้ เพราะไม่เกะกะตู้และมีประสิทธิภาพสูง ราคาออกไฮโซกว่าเพื่อน เหมาะกับตู้ปลาทุกขนาด หลักการทำงานของมันคล้ายกับกรองในตู้ คือดูดน้ำเข้ามาผ่านห้องกรองที่เรียงเป็นชั้นตามแนวตั้งและส่งกลับเข้าตู้ด้วยปั๊ม
การเลือกใช้เครื่องกรอง ควรเลือกตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นที่ว่าของแพงจะดีกว่าของถูกเสมอไป ปลาบางชนิดเช่นปลาทองไม่ชอบน้ำไหลแรง จะเอาเครื่องกรองที่มีปั๊มน้ำมาใช้ก็คงไม่เหมาะ เพราะปลานั้นต้องว่ายทานกระแสน้ำตลอดเวลา (ยกเว้นเลี้ยงในตู้ใหญ่และเลือกขนาดความแรงของปั๊มน้ำให้เหมาะ) ปลาจะเกิดความเครียด เครียดแล้วก็ป่วยเพราะอิมมูนซิสเต็มหรือภูมิคุ้มกันไม่ค่อยจะดี และเช่นเดียวกันหากเลี้ยงปลาที่ชอบว่ายทวนน้ำและต้องการออกซิเจนมากเช่นปลาแม่น้ำ ปลาคาร์พ ปลาหมอสี(บางชนิด) ก็ควรต้องใช้ระบบกรองที่มีปั๊มน้ำพ่นน้ำตลอดเวลา จะเลี้ยงแบบน้ำนิ่งอ้อยอิ่งแบบปลาทองนั้นไม่ดี วัยรุ่นพวกนี้จะเซ็งและพาลจะป่วยได้เหมือนกัน
แต่ถึงมีเครื่องกรองแล้วก็ใช่ว่าเราจะนอนดูปลากันได้ตลอดกาลโดยไม่ต้องลุกไปทำความสะอาดตู้กันอีกเลย ไม่ใช่นะครับ เครื่องกรองนั้นช่วยแค่ยืดเวลา จากที่เปลี่ยนกันหน้ามืดสองวันครั้งก็ยืดเป็นอาทิตย์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง ถึงมีเครื่องกรองน้ำแล้วก็ยังต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ ระยะเวลาที่เหมาะสมควรจะประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง (ขึ้นอยู่กับขนาดตู้และคุณภาพของเครื่องกรอง) ครั้งละ 20-25% หรือราว ๆ หนึ่งในห้า หรือหนึ่งในสี่ของปริมาณน้ำในตู้ การเปลี่ยนถ่ายน้ำจะทำให้ปลาสดชื่น กระปรี้กระเปล่า เหมือนเราได้อากาศสดใหม่ ได้อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ที่สะอาด ๆ อะไรทำนองนี้
ส่วนอุปกรณ์เพิ่มอากาศนั้นก็จำเป็นอย่างมากเช่นกันสำหรับการเลี้ยงปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้กระจก ปลาต้องการออกซิเจนในการหายใจ น้ำในตู้หากไม่มีอุปกรณ์เพิ่มอากาศเมื่อปลาอยู่ไปได้สักพักหนึ่งออกซิเจนจะถูกใช้ไปจนหมด ปลาจะเริ่มขาดอากาศต้องขึ้นมาลอยทำปากพะงาบ ๆ ที่ผิวน้ำ การเพิ่มออกซิเจนก็คือการทำให้อากาศปนลงไปในน้ำนั่นเอง ในธรรมชาติกระแสน้ำและแรงลมจะช่วยให้น้ำไหล ผิวหน้าของมันจะซับเอาออกซิเจนจากอากาศได้โดยตรงซึ่งมีปริมาณมหาศาล ทว่าในตู้ปลา หากน้ำนั้นอยู่นิ่งไม่ไหวติง หรือต่อให้เอาพัดลมไปเป่าช่วยให้ผิวน้ำขยับไหวเป็นระลอกริ้ว ก็ไม่เพียงพอต่อการซับออกซิเจนลงไปให้ปลาหายใจได้ ยิ่งถ้าเลี้ยงปลาหลายตัวหรือเป็นปลาที่ต้องการออกซิเจนในปริมาณสูงอย่างปลาคาร์พหรือปลาลำธารต่าง ๆ ก็จะยิ่งแย่เข้าไปใหญ่
ง่ายและสะดวกที่สุดคือหาซื้อปั๊มลมตัวเล็ก ๆ ต่อเข้ากับหัวทรายเพิ่มฟองอากาศในตู้ อุปกรณ์เหล่านี้ราคาถูกมีขายทั่วไปตามร้านขายปลา
แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราติดตั้งเครื่องกรองน้ำเข้าไปในตู้ปลาเรียบร้อยแล้ว ปัญหาเรื่องออกซิเจนก็จะหมดไปด้วยโดยอัตโนมัติ เนื่องจากเครื่องกรองทุกชนิดมีหลักการทำงานคือทำให้น้ำเกิดการหมุนเวียน โดยใช้แรงลมจากปั๊มลมหรือแรงขับดันจากปั๊มน้ำ ซึ่งก็สามารถเพิ่มออกซิเจนในน้ำได้อย่างมากเช่นเดียวกัน เราจึงไม่จำเป็นต้องหาซื้ออุปกรณ์เพิ่มอากาศหรือปั๊มลมเพิ่มเข้าไปให้เกะกะ นอกเสียจากว่าอยากเห็นฟองอากาศสวย ๆ พรายพลิ้วขึ้นมาเป็นม่านอย่างในหนังการ์ตูน นั่นก็ว่ากันอีกเรื่อง
การเลือกใช้เครื่องกรอง ควรเลือกตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นที่ว่าของแพงจะดีกว่าของถูกเสมอไป ปลาบางชนิดเช่นปลาทองไม่ชอบน้ำไหลแรง จะเอาเครื่องกรองที่มีปั๊มน้ำมาใช้ก็คงไม่เหมาะ เพราะปลานั้นต้องว่ายทานกระแสน้ำตลอดเวลา (ยกเว้นเลี้ยงในตู้ใหญ่และเลือกขนาดความแรงของปั๊มน้ำให้เหมาะ) ปลาจะเกิดความเครียด เครียดแล้วก็ป่วยเพราะอิมมูนซิสเต็มหรือภูมิคุ้มกันไม่ค่อยจะดี และเช่นเดียวกันหากเลี้ยงปลาที่ชอบว่ายทวนน้ำและต้องการออกซิเจนมากเช่นปลาแม่น้ำ ปลาคาร์พ ปลาหมอสี(บางชนิด) ก็ควรต้องใช้ระบบกรองที่มีปั๊มน้ำพ่นน้ำตลอดเวลา จะเลี้ยงแบบน้ำนิ่งอ้อยอิ่งแบบปลาทองนั้นไม่ดี วัยรุ่นพวกนี้จะเซ็งและพาลจะป่วยได้เหมือนกัน
แต่ถึงมีเครื่องกรองแล้วก็ใช่ว่าเราจะนอนดูปลากันได้ตลอดกาลโดยไม่ต้องลุกไปทำความสะอาดตู้กันอีกเลย ไม่ใช่นะครับ เครื่องกรองนั้นช่วยแค่ยืดเวลา จากที่เปลี่ยนกันหน้ามืดสองวันครั้งก็ยืดเป็นอาทิตย์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง ถึงมีเครื่องกรองน้ำแล้วก็ยังต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ ระยะเวลาที่เหมาะสมควรจะประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง (ขึ้นอยู่กับขนาดตู้และคุณภาพของเครื่องกรอง) ครั้งละ 20-25% หรือราว ๆ หนึ่งในห้า หรือหนึ่งในสี่ของปริมาณน้ำในตู้ การเปลี่ยนถ่ายน้ำจะทำให้ปลาสดชื่น กระปรี้กระเปล่า เหมือนเราได้อากาศสดใหม่ ได้อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ที่สะอาด ๆ อะไรทำนองนี้
ส่วนอุปกรณ์เพิ่มอากาศนั้นก็จำเป็นอย่างมากเช่นกันสำหรับการเลี้ยงปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้กระจก ปลาต้องการออกซิเจนในการหายใจ น้ำในตู้หากไม่มีอุปกรณ์เพิ่มอากาศเมื่อปลาอยู่ไปได้สักพักหนึ่งออกซิเจนจะถูกใช้ไปจนหมด ปลาจะเริ่มขาดอากาศต้องขึ้นมาลอยทำปากพะงาบ ๆ ที่ผิวน้ำ การเพิ่มออกซิเจนก็คือการทำให้อากาศปนลงไปในน้ำนั่นเอง ในธรรมชาติกระแสน้ำและแรงลมจะช่วยให้น้ำไหล ผิวหน้าของมันจะซับเอาออกซิเจนจากอากาศได้โดยตรงซึ่งมีปริมาณมหาศาล ทว่าในตู้ปลา หากน้ำนั้นอยู่นิ่งไม่ไหวติง หรือต่อให้เอาพัดลมไปเป่าช่วยให้ผิวน้ำขยับไหวเป็นระลอกริ้ว ก็ไม่เพียงพอต่อการซับออกซิเจนลงไปให้ปลาหายใจได้ ยิ่งถ้าเลี้ยงปลาหลายตัวหรือเป็นปลาที่ต้องการออกซิเจนในปริมาณสูงอย่างปลาคาร์พหรือปลาลำธารต่าง ๆ ก็จะยิ่งแย่เข้าไปใหญ่
ง่ายและสะดวกที่สุดคือหาซื้อปั๊มลมตัวเล็ก ๆ ต่อเข้ากับหัวทรายเพิ่มฟองอากาศในตู้ อุปกรณ์เหล่านี้ราคาถูกมีขายทั่วไปตามร้านขายปลา
แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราติดตั้งเครื่องกรองน้ำเข้าไปในตู้ปลาเรียบร้อยแล้ว ปัญหาเรื่องออกซิเจนก็จะหมดไปด้วยโดยอัตโนมัติ เนื่องจากเครื่องกรองทุกชนิดมีหลักการทำงานคือทำให้น้ำเกิดการหมุนเวียน โดยใช้แรงลมจากปั๊มลมหรือแรงขับดันจากปั๊มน้ำ ซึ่งก็สามารถเพิ่มออกซิเจนในน้ำได้อย่างมากเช่นเดียวกัน เราจึงไม่จำเป็นต้องหาซื้ออุปกรณ์เพิ่มอากาศหรือปั๊มลมเพิ่มเข้าไปให้เกะกะ นอกเสียจากว่าอยากเห็นฟองอากาศสวย ๆ พรายพลิ้วขึ้นมาเป็นม่านอย่างในหนังการ์ตูน นั่นก็ว่ากันอีกเรื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น